วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

นิทาน

นิทานเกี่ยวกับไหว้เจ้าแห่งเตาไฟ


ช่วงเวลากว่า 2000 ปีที่ผ่านมา จีนมีประเพณีไหว้เจ้าในวันที่ 23 เดือนอ้ายตามจันทรคติ เพื่อแสดงขอบคุณเจ้าแห่งเต้าไฟ

 เจ้า แห่งเตาไฟเป็นเทวดาในเทพนิยายจีนโบราณ เป็นข้าราชการที่พระเจ้าอยี้หวงแห่งสวรรค์จัดส่งไปดูแลทุก ๆ ครอบครัวในโลกมนุษย์ แต่ละปี เจ้าแห่งเตาไฟต้องกลับขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อรายงานสภาพของครอบครัวต่าง ๆ ให้พระเจ้าหยี้หวงรับทราบ ผู้คนจึงต้องเอาใจเจ้าแห่งเตาเพื่อจะได้รับคำชมจากเขา    จึงกลายเป็นประเพณีไหว้เจ้าแห่งเจาไฟในแต่ละปี นิทานเกี่ยวกับการไหว้เจ้าแห่งเจาไฟมีมากมาย และสนุกด้วย

 เล่า กันว่าในโบราณมีเศสฐีคนหนึ่งชื่อจางเซิง เมียของเขาชื่อติงเซียง หน้าตาสวยงามและนิสัยดีมาก ทีแรก สามีภรรยาคู่นี้อยู่ร่วมกันอย่างดีและใช้ชีวิตด้วยกันอย่างมีความสุข ต่อมาวันหนึ่ง จางเซิงทำไปธุรกิจนอกบ้าน ได้พบสาวสวยคนหนึ่งชื่อไห่ถัง เกิดติดใจขึ้มาทันที นางสาวไห่ถังก็เห็นแก่ความร่ำรวยของนายจางเซิง จึงเอาอกเอาใจเขา ไม่นาน นายจางเซิงก็รับนาวสาวไห่ถังเข้าบ้านเป็นเมียน้อย แต่ไห่ถังเห็นว่าติงเซียงสวยกว่าตน และเป็นเมียหลวงด้วย จึงเกิดอารมณ์อิจฉา และบังคับให้นายจางเซิงขับไล่ติงเซียงออกจากบ้าน

ต่อ จากนั้น จางเซิงกับไห่ถังก้เอาแต่กิน ๆ เล่น ๆ ทุกวัน ไม่ถึงสองปี เงินทองก็ถูกใช้จนหมดแล้ว ไห่ถังเห็นว่านายจางเซิงกลายเป็นคนจนแล้ว ก็เลยออกจากบ้านไปแต่งงานกับคนอื่น นายจางเซิงต้องเร่ร่อนขอทานไปตามถนน วันหนึ่งหิมะตกหนักมาก นายจางเซิงทั้งหนาวทั้งหิว สุดท้ายก็ล้มลงที่หน้าบ้านคนรวยคนหนึ่ง สาวรับใช้ของบ้านนี้เห็นแล้วก็รีบพาเขาเข้าห้องครัว และบอกกับคุณนายผู้หญิงเจ้าขอบ้าน สักครู่คุณนายผู้หญิงก็มาดูเขา นายจางเซิงลืมตาเห็นเจ้าของบ้าน ตกใจครั้งใหญ่ เพราะเจ้าของบ้านก็คือติงเซียงที่ถูกเขาทอดทิ้งเมื่อสองปีก่อนนั่นเอง นายจางเซิงรู้สึกอับอายมาก  จึง รีบหาที่ซ่อนตัว  พอเห็นเตาหุงอาหารในครัว ก็ซุกตัวเข้าไปข้างในเตา ติงเซียงเข้ามาถึงห้องครัวไม่เห็นคนขอทาน รู้สึกแปลกใจมาก มองไปมองมา ได้เห็นมีอะไรอุดอยู่ที่ปากเตา จึงดึงออกมา พอเห็นหน้าก็รู้ว่าเป็นสามีเก่าของตนแต่ถูกเผาตายเสียแล้ว ติงเซียงเศร้าโศกอย่างยิ่งและเสียชีวิตในอีกไม่นานต่อมา พระเจ้าอยี้หวงรู้เรื่องนี้แล้ว คิดว่านายจางเซิงกล้ายอมรับความผิดของตน ยังคงเป็นคนที่ใช้ได้ ก็เลยแต่งตั้งให้เขาเป็นเจ้าแห่งเจาไฟ และให้ติงเซียงเป็นเจ้าแห่งเจาไฟหญิง คนรุ่นหลังจึงได้ตั้งป้ายเจ้าแห่งเจาไฟสองที่พร้อมกันและบูชาในห้องครัว

 ใน สมัยโบราณ ผู้คนหวังว่าเจ้าแห่งเจาไฟเพียงจะรายงานเรื่องดี ๆในครอบครัวของตนให้พระเจ้าอยี้หวงรับทราบ ก็เลยเอาน้ำตาล จ้าวถัง เป็นของไหว้บูชาด้วย น้ำตาล จ้าวถัง เป็นน้ำตาลข้าวมอลท์ชนิดหนึ่ง ทั้งหวานและเหนียว พอใส่เข้าปากแล้ว เหนียวจนติดฟัน ผู้คนเอาน้ำตาลชนิดนี้ถวายเจ้าแห่งเตาไฟ คิดว่าพอเจ้าแห่งเจาไฟกินน้ำตาล จ้าวถัง เข้าปากแล้วคงจะปากหวานขึ้น และจะรายงานแต่เรื่องที่ดีไม่พูดเรื่องเสีย ความเชื่อดังกล่าวก็คงเป็นความหวังที่แสนตลกและน่าขบขันชนิดหนึ่งเท่านั้น








นิทานเกี่ยวกับฉูซีหรือวันส่งท้ายปีเก่า

 คืนสุดท้ายของเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีนเรียกว่าฉูซี คำว่า ฉู มีหมายความว่าตัดทิ้ง คำว่า ซี  หมาย ความว่าคืน คำว่าฉูซีก็คือตัดทิ้งคืนสุดท้ายของปีเก่าเพื่อต้อนรับปีใหม่ ในประเทศจีน ฉูซียังมีชื่ออื่นเช่นฉู เหนียนเย่หรือ ซาจับเม้

 ใน จีนมีประเพณีพื้นเมืองเกี่ยวกับฉูซีมากมาย สิ่งสำคัญอันแรกคือทำความสะอาด หลายวันก่อนคืนส่งท้ายปีเก่า ผู้คนจะกวาดบ้านถูพื้นให้สะอาด พอถึงวันส่งท้ายปีเก่าจะทำความสะอาดครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อขจัดของเก่าและรับรองของใหม่ ประเพณีอันนี้มาจากนิทานเรื่องเล่าว่า ในสมัยโบราณมีชายคนหนึ่งที่ขี้เกียจทำงาน ใส่เสื้อเก่าสกปรก กินข้าวต้มที่มีแต่น้ำไม่มีข้าว ในคืนส่งท้ายปีเก่าของปีใด ปีหนึ่ง ชายคนนี้ก็อดข้าวและหนาวตายในบ้าน ดังนั้นพอถึงวันส่งท้ายปีเก่า ผู้คนจึงพากันทิ้งเสื้อผ้าเก่าและอาหารที่เหลือก่อนปีใหม่ เพื่อไม่ให้ความยากจนมาถึงบ้านของตน

 หลัง จากทำความสะอาดแล้ว จะติดคำกลอนคู่บนประตูบ้านของตน และแขวนโคมไฟเพื่อสร้างบรรยากาศเทศกาล คืนส่งท้ายปีเก่าหรือ ฉูซี จะดื่มน้ำดื่มชนิดหนึ่งชื่อว่า ถูซู ซึ่งผลิตจากเหล้าหรือน้ำ เล่ากันว่า มีคนโบราณคนหนึ่งอาศัยอยู่ในกระท่อมหลังหนึ่งชื่อ ถูซู คนนี้เป็นคนพิเศษมาก เขาทำงานขุดหาสมุนไพรในป่าเขาโดยเฉาพาะ พอถึงวันฉูซีก็เอาสมุนไพรจีนที่ปรุงเสร็จแล้วไปส่งตามหมู่บ้าน และบอกกับชาวบ้านว่า ให้ทั้งครอบครัวดื่มในวัน ชิวอิ๊ต หรือวันขึ้นปีใหม่จีน ยานี้สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บและขจัดภัยต่าง ๆ ได้ เขายังบอกตำรายาให้ชาวบ้านอย่างเปิดเผย ดังนั้น ชาวบ้านท้องถิ่นจึงเรียกยาชนิดนี้ว่า ถูซู ยาตัวนี้ประกอบด้วยสมุนไพรจีน 7 ชนิด สามารถป้องกันรักษาโรคได้ดี

คืน ส่งท้ายปีเก่ามีประเพณีโต๊ะรับประทานอาหารพร้อมหน้ากัน ในวันนี้ สมาชิกครอบครัวทุกคนต้องกลับมาบ้านพ่อแม่พร้อมหน้าพร้อมต้ากัน จัดอาหารอร่อยที่สุดมาวางเต็มโต๊ะ ร่วมกันฉลองวันส่งท้ายปีเก่า

ใน ท้องที่ต่าง ๆ ของจีน อาหารบนโต๊ะจะไม่ค่อยเหมือนกัน ในภาคใต้ อาหารมื้อนี้จะมีกับข้าวสิบกว่าอย่าง ในนี้ต้องมีต้าวหู้และปลา เพราะออกเสียงคล้ายกับคำว่าฟู่อยู้ซึ่งมีความหมายแปลว่าร่ำรวย ในภาคเหนืออาหารบนโต๊ะส่วนมากจะเป็นเกี๊ยวน้ำ สมาชิกทุกคนในครอบครัวร่วมมือกันทำ เอาใส้หมูสดใส่ในหนังแป้งบาง ๆ แล้วต้มในน้ำเดือด พอต้มสุกแล้ว สมาชิกทั้งครอบครัวรวมตัวกันนั่งกินเกี๊ยวเพื่อให้ได้ความหมายอยู่พร้อมหน้า พร้อมตากันเป็นครอบครัวที่อบอุ่นสนิทกัน

ค่ำ วันส่งท้ายปีเก่าหรือฉูซี ผู้ใหญ่พาลูก ๆ ไปใอบของขวัญให้บ้านเพื่อน ๆ หรือญาติพี่น้องเพื่อฉลองปีใหม่ เรียกว่า ขวุ้ยเสว้ย การเชิญคนอื่นมาทานข้าวที่บ้านเรียกว่า เปี๋ยเสว้ย หลังจากทานข้าวเสร็จแล้ว ก่อนกลับบ้านจะให้คำอวยพรแก่กันเรียกว่า ส่านเสว้ย ส่วนลูกหลานในบ้านจะกล่าวแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะมีคำสอนคำอวยพรต่อลูกหลาน และให้อั่งเปาแก่เด็ก ๆ ในบ้าน สุดท้ายกล่าวอวยพรปีใหม่อีกที นนี่เรียกว่า ฉือเสว้ย ค่ำวันนี้ ผู้คนต่างไม่ยอมเข้านอน ทั้งครอบครัวจะดูโทรทัศน์หรือเล่นไพ่กันจนถึงเวลาปีใหม่มาถึง นี่เรียกว่า โส่วเสว้ย     

 โส่ว เสว้ย เป็นกิจกรรมในคืนส่งท้ายปีเก่าที่ชาวจีนนิยมมาก นายลู่เหยียวนักกวีโบราณจีนที่มีชื่อเสียงเคยแต่งกลอน โส่วเส้วย เขียนถึงเด็ก ๆ ทั้งหลายที่ไม่ยอมเข้านอน เล่นเฮฮากันทั้งคืน ในคืนฉูซี เด็ก ๆ ทั้งหลายดีใจที่สุด เพราะวันปกติจะถูกพ่อแม่ควบคุม แต่วันนี้ไม่มีใครมาไล่ให้เข้ารนอน สามารถโส่วเสว้ยอยู่กับพ่อแม่จนถึงท้องฟ้าสว่างปีใหม่มาถึง เต็มไปด้วยบรรยากาศปิติยินดีที่ส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่








ที่มา:
http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0001-1.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น