วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

เจดีย์ห่านป่าใหญ่ Big Wild Goose Pagoda

เจดีย์ห่านป่าใหญ่ Big Wild Goose Pagoda


เจดีย์ห่านป่าใหญ่ Big Wild Goose Pagoda
หรือ เจดีย์ต้าเอี้ยนถ่าตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกำแพงเมืองซีอาน เป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาในราชวงศ์ถัง บริเวณเดียวกับเจดีย์ 7 ชั้นแห่งนี้เป็นที่ตั้งของ วัดต้าเฉียน หรือในอดีตชื่อวัดอู่โหลวซื่อ ที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกซึ่งพระถังซำจั๋งได้อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย ชาวซีอานมักมาสักการะขอพรพระพุทธรูปที่วัดแห่งนี้ ด้วยเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก โดยอยู่บนถนนเอี้ยนถ่าลู่ ซึ่งเป็นถนนที่ตัดตรงจากเขตกำแพงเมืองชั้นในลงมา จะแลเห็นองค์เจดีย์เด่นเป็นสง่าสะดุดสายตา องค์เจดีย์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 652 ในรัชสมัยจักรพรรดิถังเกาจง (TANG KAO ZHONG) โดยก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 648 ในรัชสมัยจักรพรรดิถังไท้จง (TANG TAI ZHONG) พระราชโอรส เจ้าชายหลี่จื้อ (จักรพรรดิถังเกาจงในเวลาต่อมา ทรงครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในปี ค.ศ. 650) ได้สร้างวัดต้าสือเอินซื่อ (TA SI EN SI) (วัดกตัญญุตาราม) นี้ขึ้นก่อน เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณของพระราชมารดา คือ เหวินเต๋อหวงโฮ่ว จากนั้นเมื่อทรงขึ้นครองราชย์แล้วจึงได้สร้างเจดีย์นี้ขึ้นตามคำขอของพระถังซำจั๋ง ในบริเวณวัดดังกล่าว

องค์เจดีย์มีรูปแบบเรียบง่าย ในศิลปะจีนผสมอินเดีย เดิมนั้นสร้างเพียง 5 ชิ้น แต่เมืองซีอานได้ประสบภัยแผ่นดินไหวมาหลายครั้ง จึงได้มีการบูรณะเรื่อยมาและมีการบูรณะใหญ่ในสมัยราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง ปัจจุบันองค์เจดีย์มี 7 ชั้น สูง 64.1 เมตร ฐานขององค์เจดีย์วัดจากตะวันออกไปตะวันตกยาว 45.9 เมตร จากเหนือไปใต้ยาว 48.8 เมตร
ตามประวัติ
เจดีย์ห่านป่าใหญ่ ศาสนสถานโบราณที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในแผ่นดินจีน หลังจากที่พระถังซำจั๋งเดินทางไปยังชมพูทวีปเพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกกลับมา ท่านก็ได้พำนักที่วัดต้าเฉียน และเป็นเจ้าอาวาสของวัดนี้ จากนั้นได้มีการสร้างเจดีย์ 5 ชั้นภายในอาณาเขตวัด ภายหลังได้ถูกทำลายลงในสมัยพระนางอู่เจ๋อเทียน พระนางจึงมีพระบัญชาให้สร้างขึ้นใหม่เป็น 10 ชั้น ก่อนจะพังทลายจากแผ่นดินไหวเหลือเพียง 7 ชั้นดังที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากเจดีย์ห่านป่าใหญ่ ซึ่งสามารถชมวิวข้างบนได้แล้ว ยังมีอนุสาวรีย์พระถังซำจั๋ง หอระฆังทางทิศตะวันออก หอกลองทางทิศตะวันตก พระอุโบสถที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 3 องค์ หอพระถังซำจั๋งที่มีรูปปั้นสัมฤทธิ์ของท่านในท่านั่งสมาธิ การได้มานมัสการที่วิหารพันปีแห่งนี้จึงนับได้ว่าเป็นสิริมงคลต่อ
ชีวิตอย่างยิ่ง


http://ทัวร์เมืองจีน.com/xian/big_wild_goose_pagoda.html
ประเพณีจีน เป็นเทศกาลที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยอดีตมาจนถึงปัจจุบัน อันเป็นจุดกำเนิดของชาวจีน ร่วมค้นหาประวัติความเป็นมา และความหมายที่ซ่อนเร้นไว้ในประเพณีต่างๆ ตำนาน ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ประวัติศาสตร์อารยธรรมเก่าแก่อันล้ำค่าของจีนยุคโบราณ บอกกล่าวผ่านงานศิลปะแขนงต่างๆ ให้โลกได้รับรู้....ประเพณีการไหว้เจ้า"การไหว้เจ้า" เป็นประเพณีที่ชาวจีนประพฤติ ปฏิบัติสืบต่อกันมากว่า 3,000 ปี (สมัยราชวงศ์โจว) เพื่อให้เกิดความสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุขความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเองและครอบครัว ทั้งกิจการงาน ธุรกิจที่ประกอบอยู่ ชาวจีนจึงมีความเชื่อสืบต่อๆ กันมาว่าในปีหนึ่งๆ มักจะมีสิ่งเลวร้าย เรื่องไม่ดีงาม เรื่องอัปมงคลมากระทบกระทั่ง หรือรบกวนการดำเนินชีวิตของคนเราจนทำให้เกิดอุปสรรคต่างๆ เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วย การงานติดขัดไม่ราบรื่น เงินทองไม่คล่อง ทำอะไรก็พบแต่ความยุ่งยาก ค้าขายลำบากมีแต่อุปสรรคบุตรบริวารก่อเรื่องวุ่นวาย นำความยุ่งยากลำบากใจมาให้ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผิดปกติ ทำให้รู้ได้ว่า "ดวงชะตาชีวิต" ไม่ดีนักจึงจะต้องมีการขวนขวายหาที่พึ่ง จึงทำให้ก่อกำเนิดประเพณี การไหว้เจ้า ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ ไหว้บรรพบุรุษขึ้น
การไหว้เจ้า เป็นธรรมเนียมประเพณีที่ลูกหลานจีนปฏิบัติสืบทอดกันมา ตามความเชื่อที่จะต้องไหว้เจ้าที่และไหว้บรรพบุรุษเพื่อให้เป็นสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุขความเจริญแก่ครอบครัว ในปีหนึ่งจะมีการไหว้เจ้า 8 ครั้ง คือ

-ไหว้ ครั้งแรกของปี ไหว้เดือน 1 วันที่ 1 คือ ตรุษจีน เรียกว่า “ง่วงตั้งโจ่ย”
-ไหว้ ครั้งที่สอง ไหว้เดือน 1 วันที่ 15 เรียกว่า “ง่วงเซียวโจ่ย”
-ไหว้ ครั้งที่สาม ไหว้เดือน 3 วันที่ 4 เรียกว่า “ไหว้เช็งเม้ง” เป็นประเพณีที่ลูกหลานไปไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย
-ไหว้ ครั้งที่สี่ ไหว้เดือน 5 วันที่ 5 เรียกว่า “โหงวเหว่ยโจ่ย” เป็นเทศกาลไหว้ขนมจ้าง
-ไหว้ ครั้งที่ห้า ไหว้เดือน 7 วันที่ 15 คือ ไหว้สารทจีนเรียกว่า “ตงง้วงโจ่ย”
-ไหว้ ครั้งที่หก ไหว้เดือน 8 วันที่ 15 เรียกว่า “ตงชิวโจ่ย” ที่คนทั่วไปรู้จักกันดีว่า ไหว้พระจันทร์
-ไหว้ ครั้งที่เจ็ด ไหว้เดือน 11 ไม่กำหนดวันแน่นอน เรียกว่า “ไหว้ตังโจ่ย”
-ไหว้ ครั้งที่แปด ไหว้เดือน 12 วันสิ้นปี เรียกว่า ไหว้สิ้นปี หรือ “ก๊วยนี้โจ่ย”

ประเพณีการไหว้เจ้าทั้ง 8 ครั้งนี้ มีคำจีนเฉพาะเรียกว่า “โป๊ยโจ่ย” โป๊ย คือ 8 โจ่ย แปลว่า เทศกาล โป๊ยโจ่ย จึงหมายความว่า การไหว้เจ้า 8 เทศกาล ซึ่งนอกจากการไหว้เจ้า 8 เทศกาลนี้แล้ว บางบ้านอาจมีวันไหว้พิเศษกับเจ้าบางองค์ที่นับถือศรัทธา คือ

-ไหว้ เทพยดาฟ้าดิน เช่น การไหว้วันเกิดเทพยดาฟ้าดิน เรียกว่า “ทีกงแซ” หรือ “ทีตี่แซ” ก็ได้ ตรงกับวันที่ 9 เดือน 1 ของจีน
-ไหว้ อาเนี้ยแซ คือ ไหว้วันเกิดเจ้าแม่กวนอิม ปีหนึ่งมี 3 ครั้ง คือ วันที่ 19 เดือน 2, วันที่ 19 เดือน 6 และวันที่ 19 เดือน 9
-ไหว้ แป๊ะกงแซ ตรงกับวันที่ 14 เดือน 3
-ไหว้ เทพยดาผืนดิน คือ ไหว้โท้วตี่ซิ้ง ตรงกับวันที่ 29 เดือน 3
-ไหว้ อาพั้ว “อาพั้ว” คือ พ่อซื้อแม่ซื้อผู้คุ้มครองเด็ก วันเกิดอาพั้ว หรือ “อาพั้วแซ” ตรงกับวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี
-ไหว้ เจ้าเตา ไหว้วันที่ 24 เดือน 12 เรียกว่า “ไหว้เจ๊าซิ้ง”

การ ไหว้เจ้าพิเศษนี้ แล้วแต่ศรัทธาของแต่ละบ้านและแล้วแต่ความจำเป็น เช่น ถ้าที่บ้านไม่มีเด็ก ก็ไม่จำเป็นต้องไปไหว้อาพั้ว หรือถ้าที่บ้านไม่ได้ทำนาทำไร่ก็ไม่มีที่ และไม่มีความจำเป็นต้องไหว้โท้วตี่วิ้ง หรือเทพยดาผืนดิน

เมื่อ พูดถึงการไหว้เจ้า จะหมายถึงการไหว้เจ้าที่กับไหว้บรรพบุรุษ เครื่องเซ่นสำหรับไหว้เจ้าที่จะจัดเป็น 1 ชุด เครื่องเซ่นสำหรับบรรพบุรุษจะจัดเป็นอีกชุดต่างหาก การไหว้จะไหว้ในตอนเช้า โดยไหว้เจ้าที่ก่อน พอสายหน่อยจึงจะตั้งโต๊ะไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งของไหว้จะมีของคาว ของหวาน ผลไม้ และเครื่องดื่ม โดยมีกับข้าวคาวเพิ่มเข้ามาสำหรับการไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งมีธรรมเนียมว่าต้องให้มีของน้ำ 1 อย่าง เช่น แกงจืด
การจัดของไหว้* ถ้า จัดใหญ่ นิยมเป็นตัวเลข 5 คือ มีของคาว 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวแซ” ประกอบด้วย หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกร แต่เนื่องจากกุ้งมังกรนั้นแพงและหาไม่ง่าย จึงนิยมไหว้เป็ดหรือปลาหมึกแห้งแทน ของหวาน 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวเปี้ย” อาจเป็นซาลาเปาไส้หวาน ขนมไข่ ขนมถ้วยฟู ขนมกุยช่าย และขนมจันอับ ผลไม้ 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวก้วย”
* ถ้า จัดเล็ก ก็เป็นชุดละ 3 อย่าง มีของคาว 3 อย่างเรียกว่า “ซาแซ” ของหวาน 3 อย่าง เรียกว่า “ซาเปี้ย” ผลไม้ 3 อย่าง เรียกว่า “ซาก้วย” หรือจะมีแค่อย่างเดียวก็ได้
ผลไม้ที่ใช้ไหว้จะนิยมเลือกชนิดที่มีอะไรที่เป็นมงคลอยู่ในตัว-ส้ม เรียกว่า “ไต้กิก” แปลว่า โชคดี
-องุ่น เรียกว่า “พู่ท้อ” แปลว่า งอกงาม
-สับปะรด เรียกว่า “อั้งไล้” แปลว่า มีโชคมาหา
-กล้วย มีความหมายถึงการมีลูกหลานสืบสกุล

ที่ในกระถางธูปที่ใช้ไหว้เจ้า บางคนนิยมใส่ “โหงวจี้” สำหรับปักธูป ประกอบด้วย เมล็ด 5 อย่าง คือ ข้าวสาร ข้าวเหนียว ถั่วเขียว ถั่วดำ และเชื้อแป้ง (ยีสต์) โดยถือว่าเมล็ดทั้งห้า คือบ่อเกิดของการเจริญเติบโตอุปมาอุปไมยให้การไหว้เจ้านี้นำมาซึ่งความเจริญ รุ่งเรือง

แต่การใช้โหงวจี้ปักธูป มีข้อจำกัดว่าใช้ได้แต่ในบ้าน ถ้าเป็นการไหว้นอกบ้านต้องใช้ข้าวสารหรือทรายมิฉะนั้นเชื้อแป้งเมื่อถูกความชื้น เช่น ฝนหรือน้ำค้างจะทำให้แข็งตัวแล้วปักธูปไม่ลง

เมื่อไหว้เจ้าเสร็จก็เผากระดาษเงินกระดาษทองเป็นการปิดท้ายรายการ

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

กำแพงเมืองจีน

ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=oKuedXoNl3M

6.มณฑลปักกิ่ง
เมืองประวัติศาสตร์เก่าแก่ เดิมชื่อเป่ยผิง  (Beiping ) แปลว่า สันติภาพแห่งทิศอุทร ต่อมาเปลี่ยนเป็น เป่ยจิง ( Beijing ) แต่คนไทยสะดวกที่จะเรียกว่า ปักกิ่งมากกว่า คำว่า “เป่ยจิง” ซึ่งแปลว่าเมืองหลวงแห่งทิศอุดร ซึ่งตรงกับตำแหน่งที่ตั้งของเมือง เมื่อ 1000 ปีก่อนคริสตกาล




7.มณฑลคุณหมิง
แม้ว่าพื้นที่ของคุณหมิงจะมี การตั้งรกราก และผ่านประวัติศาสตร์มานานนับ 2,000 ปี แต่คุณหมิงวันนี้ก็เปลี่ยนไป ด้วนถนนหนทางที่กว้างขวาง ตึกราบ้านช่องผุดขึ้นอย่างมากมาย 







8.มณฑลเทียนจิน
เมืองเทียนสิน เป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ เป็นเมืองคู่แฝดของปักกิ่ง มีฐานะเป็นเขตปกครองพิเศษ หรือ มหานครเช่นเดียวกัน และเป็นเมืองท่าที่สำคัญ มีเนื้อที่ 11,000 ตารางกิโลเมตร








9.มณฑลหยุนหนาน
มณฑลหยุนหนาน ตามที่คนไทยนิยมเรียก เป็นมณฑลหนึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีขนาดใหญ่อันดับ 6 ของประเทศ มีพื้นที่ 394,000 ตารางกิโลเมตร ประชากร 34 ล้านคน เป็นชาวจีน และชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ อาทิ ไป๋ นู่ น่าซี มองโกล ทิเบต ไต








ที่มา:
http://www.oecschool.com/China_pictures/travel%20in%20China.php




สถานที่ท่องเที่ยวในจีน


 ประเทศจีน เป็นประเทศเก่าแก่ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพัน ๆปี ผ่านมาแล้วทั้งร้อนทั้งหนาว ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ เพื่อดำรงชีวิตหรือเพื่อศักดิ์ศรี บางครั้งสู้รบกันเอง บางครั้งสู้รบกับคนต่างชาติ และบางครั้งก็สู้กับธรรมชาติ ความกล้าหาญ ความอดทน และความฉลาดหลักแหลมของบรรพชนรังสรรค์อารยธรรมที่เป็นต้นกำเนิด และวิทยาการที่ทรงคุณค่ามากมาย
       นับจากที่ องค์การยูเนสโก ได้ลงมติพิจารณา เขาไท่ซัน แห่งมณฑลซันตงของจีน ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติในปีค.ศ. 1987 เป็นต้นมา สิ่งมหัศจรรย์ในแผ่นดินใหญ่ได้ค่อยๆเปิดตัวสู่สายตาชาวโลกในเวลาต่อๆมา จนถึงปีค.ศ. 2003 จีนมีสถานที่สำคัญที่เป็นมรดกโลกแบ่งเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม 21 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 4 แห่ง และมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ 4 แห่ง รวมทั้งสิ้น 29 แห่ง นับเป็นจำนวนมากที่สุดในประเทศแถบเอเซีย
การท่องเที่ยวในเมืองจีน
       ประเทศจีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล และสถานที่สวยงามน่าสนใจมากมาย การเดินทางท่องเที่ยวให้ครบทั้งประเทศ ประมาณกันว่าต้องใช้เวลา 2 ปี เที่ยวเฉพาะเมืองสำคัญ แค่พอได้รู้จักใช้เวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ดังนั้นนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักเดินทางไปยังเมืองสำคัญ และสถานที่ที่เป็นจุดเด่น เราลองมาดูรายละเอียดเมืองที่น่าสนใจในเมืองต่างๆกันคะ มรดกโลก วัฒนธรรมและธรรมชาติ ปี 1987



1. เขาไท่ซัน-มณฑลซันตง มรดกโลก วัฒนธรรม ปี 1987
เขาไท่ซาน มีสภาพภูมิศาสตร์ทอดตัวยาวอยู่ท่ามกลางพื้นที่ราบสลับเนินเขาเตี้ยๆในมณฑล ซานตง ถิ่นกำเนิดของท่านขงจื๊อ ปรัชญาเมธีของจีน ยอดเขาหลัก อี้ว์หวง หรือจักรพรรดิหยก มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,545 เมตร ภูเขาไท่ซานถึงแม้จะไม่ใช่เทือกเขาที่มีความสูงมากนัก แต่ด้วยภูมิประเทศโดยรอบส่งให้เทือกเขาแห่งนี้โดดเด่นขึ้นเป็นแนวยาวทาง ตอนกลาง ราวกับเป็นกระดูกสันหลังของมณฑล




2. กำแพงเมืองจีน-ปักกิ่ง มรดกโลก วัฒนธรรม ปี 1987
กำแพงเมืองจีน หรือว่านหลี่ฉางเฉิงมีความยาวประมาณ 6,700 กิโลเมตร เริ่มต้นจากทะเลโป๋ไห่ทอดผ่านแผ่นดิน 9 มณฑล ไปสิ้นสุดที่ทะเลทรายมณฑลกานซูทางตะวันตกของประเทศ 






3. กู้กง(พระราชวังต้องห้าม)-ปักกิ่ง มรดกโลก วัฒนธรรม ปี 1987
สร้างในรัชสมัยจักรพรรดิหย่ง เล่อแห่ง ราชวงศ์หมิง ระหว่าง ค.ศ. 1406 - 1420 และมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยรัชกาลต่อๆมา อาณาเขตของรชวังล้อมด้วยกำแพงสูงโดยรอบทั้งสี่ด้าน มีประตูผ่านเข้าสู่วังทางทิศใต้ด้านประตูเทียนอันเหมิน ภายในมีเนื้อที่กว้างขวางถึง 720,000 ตารางเมตร 






4. เทียนทาน หรือ วัดสวรรค์ สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง
เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับประกอบพิธีบรมราชาภิเษก พิธีไหว้ฟ้าดิน และเทพเจ้าต่างๆ เพื่อขอพรให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมีความสุข พืชพันธ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ตั้งอลู่ใจกลางสวนขนาด 267 เฮกตาร์ ประกอบด้วยซีเหนียนเตี้ยน







5. จัตุรัสเทียนอันเหมิน
เทียนอันเหมิน แปลว่า สงบดังอยู่ในสวรรค์ จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นลานซีเมนต์กว้างใหญ่ถึง 275 ไร่ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวังต้องห้าม ใช้เป็นที่ประกอบพิธีใหญ่และงานชุมนุมสำคัญของประเทศ เมื่อเหมาเจ๋อตุงประกาศสถาปนาประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนก็กระทำที่นี






ที่มา:
http://www.oecschool.com/China_pictures/travel%20in%20China.php












วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

วิวัฒนาการวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีน


วิวัฒนาการวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีน

          เชื่อ ว่าหลายท่านที่เป็นคอละครหนังจีนกำลังภายในหรือย้อนยุค คงเคยเกิดความสงสัยอย่างที่ผู้เขียนสงสัย นั้นก็คือความหลายหลายของเสื้อผ้าตัวละครในหนังจีน  ว่า ทำไมแต่ละเรื่องการแต่งกายจึงมีความไม่เหมือนกัน เสื้อผ้าและทรงผมแบบนี้มีอยู่จริงหรือ หลายท่านคงเดาออกว่าประวัติศาสตร์ชาวจีนมีมานานแสนนาน มีมาหลายราชวงศ์ แต่ก็สับสนทุกครั้งที่ชมละครหรือภาพยนตร์จีน

                ใน ฉบับนี้ผู้เขียนจึงขอพูดถึงหัวข้อวิวัฒนาการวัฒนธรรมการแต่งกายชาวจีนแก่ ท่านผู้อ่าน เพื่อท่านผู้อ่านสามารถชมละครหรือภาพยนตร์จีนให้ได้อรรถรสของกลิ่นอาย วัฒนธรรมชาวจีน ในยุคเก่าก่อน

ประวัติ ศาสตร์ของประเทศจีนมีมานานถึง 5 พันปี วัฒนธรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวจีนก็มีมายาวนานไม่แพ้กัน ซึ่งในระยะเวลา 5 พันปีมานั้น  ชาวจีนได้รับอิทธิพลเครื่องแต่งกายจากชนกลุ่มน้อย เผ่าต่าง ๆ ในประเทศจีน  รวม ถึงวัฒนธรรมการแต่งกายเสื้อผ้าของชาวต่างชาติ ผสมผสานกันจนเป็นลักษณะพิเศษของการแต่งกายชาวจีนในยุคนั้น ๆ ซึ่งการแต่งกายของชาวจีนนั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

              เนื่อง จากชนกลุ่มน้อยเผ่า ๆ ต่างในประเทศจีนมีอยู่ถึง 42 เปอร์เซนต์ ของประชากรจีนทั้งหมด ซึ่งเมืองที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เยอะที่สุดคือเมือง หวินหนาน จึงจำเป็นที่จะต้องแยกประเภทวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีน( 历代服饰 ) และกลุ่มการแต่งกายของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในประเทศจีน ( 民族服饰 ) ซึ่งมีอยู่ถึง 50 กว่า ชนเผ่า  ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มักจะมีการแต่งกายที่มีลักษณะเอกลักษณ์และมักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ในฉบับนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงวัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโดยสังเขป


วัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีน ( 历代服饰 )

สมัยฉิน  (秦221-220 ปีก่อนคริสต์ศักราช)


ข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไป 


เสื้อผ้าผู้หญิง 



สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย   ( 魏晋南北 ค.ศ.220- ค.ศ.589)  





สมัยสุ่ย และสมัยถัง  (隋唐 ค.ศ. 581-ค.ศ. 907)


 เสื้อผ้าผู้หญิงสมัยสุ่ย แลดูเรียบง่าย



ชุดกษัตริย์สมัยสุ่ยและถัง 




เสื้อผ้าผู้ชายสมัยถัง  

 เสื้อผ้าสตรีสมัยถัง



สมัยซ่ง  ( 宋ค.ศ.960 - ค.ศ.1279)



 เสื้อกั๊กสมัยซ่ง  




สมัยเหวี่ยน   (元ค.ศ.1206 - ค.ศ.1368)



เสื้อผ้าสตรีสมัยเอวี่ยน



สมัยหมิง  (明ค.ศ.1368 - ค.ศ.1645) 

เครื่องแต่งกายชาย สวมหมวกผ้าทรงสี่เหลี่ยม


  เสื้อกั๊กและเสื้อผ้าสตรี








สมัยชิง  ( 清ค.ศ.1644 - ค.ศ.1911 )


เครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีสมัยชิง  



สมัยปฏิวัติซินไฮ่  (近代ค.ศ.1911-ค.ศ.1949)


 ชุดฟรอม์จงซานของคุณซุนจงซาน   

  ชุดกี่เพ่าแขนกุด 



             เสื้อผ้าสตรีหลังจากยุคปฏิวัติซินไฮ

ที่มา:
http://www.jiewfudao.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538722991&Ntype=2