วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

เจดีย์ห่านป่าใหญ่ Big Wild Goose Pagoda

เจดีย์ห่านป่าใหญ่ Big Wild Goose Pagoda


เจดีย์ห่านป่าใหญ่ Big Wild Goose Pagoda
หรือ เจดีย์ต้าเอี้ยนถ่าตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกำแพงเมืองซีอาน เป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาในราชวงศ์ถัง บริเวณเดียวกับเจดีย์ 7 ชั้นแห่งนี้เป็นที่ตั้งของ วัดต้าเฉียน หรือในอดีตชื่อวัดอู่โหลวซื่อ ที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกซึ่งพระถังซำจั๋งได้อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย ชาวซีอานมักมาสักการะขอพรพระพุทธรูปที่วัดแห่งนี้ ด้วยเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก โดยอยู่บนถนนเอี้ยนถ่าลู่ ซึ่งเป็นถนนที่ตัดตรงจากเขตกำแพงเมืองชั้นในลงมา จะแลเห็นองค์เจดีย์เด่นเป็นสง่าสะดุดสายตา องค์เจดีย์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 652 ในรัชสมัยจักรพรรดิถังเกาจง (TANG KAO ZHONG) โดยก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 648 ในรัชสมัยจักรพรรดิถังไท้จง (TANG TAI ZHONG) พระราชโอรส เจ้าชายหลี่จื้อ (จักรพรรดิถังเกาจงในเวลาต่อมา ทรงครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในปี ค.ศ. 650) ได้สร้างวัดต้าสือเอินซื่อ (TA SI EN SI) (วัดกตัญญุตาราม) นี้ขึ้นก่อน เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณของพระราชมารดา คือ เหวินเต๋อหวงโฮ่ว จากนั้นเมื่อทรงขึ้นครองราชย์แล้วจึงได้สร้างเจดีย์นี้ขึ้นตามคำขอของพระถังซำจั๋ง ในบริเวณวัดดังกล่าว

องค์เจดีย์มีรูปแบบเรียบง่าย ในศิลปะจีนผสมอินเดีย เดิมนั้นสร้างเพียง 5 ชิ้น แต่เมืองซีอานได้ประสบภัยแผ่นดินไหวมาหลายครั้ง จึงได้มีการบูรณะเรื่อยมาและมีการบูรณะใหญ่ในสมัยราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง ปัจจุบันองค์เจดีย์มี 7 ชั้น สูง 64.1 เมตร ฐานขององค์เจดีย์วัดจากตะวันออกไปตะวันตกยาว 45.9 เมตร จากเหนือไปใต้ยาว 48.8 เมตร
ตามประวัติ
เจดีย์ห่านป่าใหญ่ ศาสนสถานโบราณที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในแผ่นดินจีน หลังจากที่พระถังซำจั๋งเดินทางไปยังชมพูทวีปเพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกกลับมา ท่านก็ได้พำนักที่วัดต้าเฉียน และเป็นเจ้าอาวาสของวัดนี้ จากนั้นได้มีการสร้างเจดีย์ 5 ชั้นภายในอาณาเขตวัด ภายหลังได้ถูกทำลายลงในสมัยพระนางอู่เจ๋อเทียน พระนางจึงมีพระบัญชาให้สร้างขึ้นใหม่เป็น 10 ชั้น ก่อนจะพังทลายจากแผ่นดินไหวเหลือเพียง 7 ชั้นดังที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากเจดีย์ห่านป่าใหญ่ ซึ่งสามารถชมวิวข้างบนได้แล้ว ยังมีอนุสาวรีย์พระถังซำจั๋ง หอระฆังทางทิศตะวันออก หอกลองทางทิศตะวันตก พระอุโบสถที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 3 องค์ หอพระถังซำจั๋งที่มีรูปปั้นสัมฤทธิ์ของท่านในท่านั่งสมาธิ การได้มานมัสการที่วิหารพันปีแห่งนี้จึงนับได้ว่าเป็นสิริมงคลต่อ
ชีวิตอย่างยิ่ง


http://ทัวร์เมืองจีน.com/xian/big_wild_goose_pagoda.html
ประเพณีจีน เป็นเทศกาลที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยอดีตมาจนถึงปัจจุบัน อันเป็นจุดกำเนิดของชาวจีน ร่วมค้นหาประวัติความเป็นมา และความหมายที่ซ่อนเร้นไว้ในประเพณีต่างๆ ตำนาน ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ประวัติศาสตร์อารยธรรมเก่าแก่อันล้ำค่าของจีนยุคโบราณ บอกกล่าวผ่านงานศิลปะแขนงต่างๆ ให้โลกได้รับรู้....ประเพณีการไหว้เจ้า"การไหว้เจ้า" เป็นประเพณีที่ชาวจีนประพฤติ ปฏิบัติสืบต่อกันมากว่า 3,000 ปี (สมัยราชวงศ์โจว) เพื่อให้เกิดความสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุขความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเองและครอบครัว ทั้งกิจการงาน ธุรกิจที่ประกอบอยู่ ชาวจีนจึงมีความเชื่อสืบต่อๆ กันมาว่าในปีหนึ่งๆ มักจะมีสิ่งเลวร้าย เรื่องไม่ดีงาม เรื่องอัปมงคลมากระทบกระทั่ง หรือรบกวนการดำเนินชีวิตของคนเราจนทำให้เกิดอุปสรรคต่างๆ เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วย การงานติดขัดไม่ราบรื่น เงินทองไม่คล่อง ทำอะไรก็พบแต่ความยุ่งยาก ค้าขายลำบากมีแต่อุปสรรคบุตรบริวารก่อเรื่องวุ่นวาย นำความยุ่งยากลำบากใจมาให้ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผิดปกติ ทำให้รู้ได้ว่า "ดวงชะตาชีวิต" ไม่ดีนักจึงจะต้องมีการขวนขวายหาที่พึ่ง จึงทำให้ก่อกำเนิดประเพณี การไหว้เจ้า ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ ไหว้บรรพบุรุษขึ้น
การไหว้เจ้า เป็นธรรมเนียมประเพณีที่ลูกหลานจีนปฏิบัติสืบทอดกันมา ตามความเชื่อที่จะต้องไหว้เจ้าที่และไหว้บรรพบุรุษเพื่อให้เป็นสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุขความเจริญแก่ครอบครัว ในปีหนึ่งจะมีการไหว้เจ้า 8 ครั้ง คือ

-ไหว้ ครั้งแรกของปี ไหว้เดือน 1 วันที่ 1 คือ ตรุษจีน เรียกว่า “ง่วงตั้งโจ่ย”
-ไหว้ ครั้งที่สอง ไหว้เดือน 1 วันที่ 15 เรียกว่า “ง่วงเซียวโจ่ย”
-ไหว้ ครั้งที่สาม ไหว้เดือน 3 วันที่ 4 เรียกว่า “ไหว้เช็งเม้ง” เป็นประเพณีที่ลูกหลานไปไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย
-ไหว้ ครั้งที่สี่ ไหว้เดือน 5 วันที่ 5 เรียกว่า “โหงวเหว่ยโจ่ย” เป็นเทศกาลไหว้ขนมจ้าง
-ไหว้ ครั้งที่ห้า ไหว้เดือน 7 วันที่ 15 คือ ไหว้สารทจีนเรียกว่า “ตงง้วงโจ่ย”
-ไหว้ ครั้งที่หก ไหว้เดือน 8 วันที่ 15 เรียกว่า “ตงชิวโจ่ย” ที่คนทั่วไปรู้จักกันดีว่า ไหว้พระจันทร์
-ไหว้ ครั้งที่เจ็ด ไหว้เดือน 11 ไม่กำหนดวันแน่นอน เรียกว่า “ไหว้ตังโจ่ย”
-ไหว้ ครั้งที่แปด ไหว้เดือน 12 วันสิ้นปี เรียกว่า ไหว้สิ้นปี หรือ “ก๊วยนี้โจ่ย”

ประเพณีการไหว้เจ้าทั้ง 8 ครั้งนี้ มีคำจีนเฉพาะเรียกว่า “โป๊ยโจ่ย” โป๊ย คือ 8 โจ่ย แปลว่า เทศกาล โป๊ยโจ่ย จึงหมายความว่า การไหว้เจ้า 8 เทศกาล ซึ่งนอกจากการไหว้เจ้า 8 เทศกาลนี้แล้ว บางบ้านอาจมีวันไหว้พิเศษกับเจ้าบางองค์ที่นับถือศรัทธา คือ

-ไหว้ เทพยดาฟ้าดิน เช่น การไหว้วันเกิดเทพยดาฟ้าดิน เรียกว่า “ทีกงแซ” หรือ “ทีตี่แซ” ก็ได้ ตรงกับวันที่ 9 เดือน 1 ของจีน
-ไหว้ อาเนี้ยแซ คือ ไหว้วันเกิดเจ้าแม่กวนอิม ปีหนึ่งมี 3 ครั้ง คือ วันที่ 19 เดือน 2, วันที่ 19 เดือน 6 และวันที่ 19 เดือน 9
-ไหว้ แป๊ะกงแซ ตรงกับวันที่ 14 เดือน 3
-ไหว้ เทพยดาผืนดิน คือ ไหว้โท้วตี่ซิ้ง ตรงกับวันที่ 29 เดือน 3
-ไหว้ อาพั้ว “อาพั้ว” คือ พ่อซื้อแม่ซื้อผู้คุ้มครองเด็ก วันเกิดอาพั้ว หรือ “อาพั้วแซ” ตรงกับวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี
-ไหว้ เจ้าเตา ไหว้วันที่ 24 เดือน 12 เรียกว่า “ไหว้เจ๊าซิ้ง”

การ ไหว้เจ้าพิเศษนี้ แล้วแต่ศรัทธาของแต่ละบ้านและแล้วแต่ความจำเป็น เช่น ถ้าที่บ้านไม่มีเด็ก ก็ไม่จำเป็นต้องไปไหว้อาพั้ว หรือถ้าที่บ้านไม่ได้ทำนาทำไร่ก็ไม่มีที่ และไม่มีความจำเป็นต้องไหว้โท้วตี่วิ้ง หรือเทพยดาผืนดิน

เมื่อ พูดถึงการไหว้เจ้า จะหมายถึงการไหว้เจ้าที่กับไหว้บรรพบุรุษ เครื่องเซ่นสำหรับไหว้เจ้าที่จะจัดเป็น 1 ชุด เครื่องเซ่นสำหรับบรรพบุรุษจะจัดเป็นอีกชุดต่างหาก การไหว้จะไหว้ในตอนเช้า โดยไหว้เจ้าที่ก่อน พอสายหน่อยจึงจะตั้งโต๊ะไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งของไหว้จะมีของคาว ของหวาน ผลไม้ และเครื่องดื่ม โดยมีกับข้าวคาวเพิ่มเข้ามาสำหรับการไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งมีธรรมเนียมว่าต้องให้มีของน้ำ 1 อย่าง เช่น แกงจืด
การจัดของไหว้* ถ้า จัดใหญ่ นิยมเป็นตัวเลข 5 คือ มีของคาว 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวแซ” ประกอบด้วย หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกร แต่เนื่องจากกุ้งมังกรนั้นแพงและหาไม่ง่าย จึงนิยมไหว้เป็ดหรือปลาหมึกแห้งแทน ของหวาน 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวเปี้ย” อาจเป็นซาลาเปาไส้หวาน ขนมไข่ ขนมถ้วยฟู ขนมกุยช่าย และขนมจันอับ ผลไม้ 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวก้วย”
* ถ้า จัดเล็ก ก็เป็นชุดละ 3 อย่าง มีของคาว 3 อย่างเรียกว่า “ซาแซ” ของหวาน 3 อย่าง เรียกว่า “ซาเปี้ย” ผลไม้ 3 อย่าง เรียกว่า “ซาก้วย” หรือจะมีแค่อย่างเดียวก็ได้
ผลไม้ที่ใช้ไหว้จะนิยมเลือกชนิดที่มีอะไรที่เป็นมงคลอยู่ในตัว-ส้ม เรียกว่า “ไต้กิก” แปลว่า โชคดี
-องุ่น เรียกว่า “พู่ท้อ” แปลว่า งอกงาม
-สับปะรด เรียกว่า “อั้งไล้” แปลว่า มีโชคมาหา
-กล้วย มีความหมายถึงการมีลูกหลานสืบสกุล

ที่ในกระถางธูปที่ใช้ไหว้เจ้า บางคนนิยมใส่ “โหงวจี้” สำหรับปักธูป ประกอบด้วย เมล็ด 5 อย่าง คือ ข้าวสาร ข้าวเหนียว ถั่วเขียว ถั่วดำ และเชื้อแป้ง (ยีสต์) โดยถือว่าเมล็ดทั้งห้า คือบ่อเกิดของการเจริญเติบโตอุปมาอุปไมยให้การไหว้เจ้านี้นำมาซึ่งความเจริญ รุ่งเรือง

แต่การใช้โหงวจี้ปักธูป มีข้อจำกัดว่าใช้ได้แต่ในบ้าน ถ้าเป็นการไหว้นอกบ้านต้องใช้ข้าวสารหรือทรายมิฉะนั้นเชื้อแป้งเมื่อถูกความชื้น เช่น ฝนหรือน้ำค้างจะทำให้แข็งตัวแล้วปักธูปไม่ลง

เมื่อไหว้เจ้าเสร็จก็เผากระดาษเงินกระดาษทองเป็นการปิดท้ายรายการ

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

กำแพงเมืองจีน

ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=oKuedXoNl3M

6.มณฑลปักกิ่ง
เมืองประวัติศาสตร์เก่าแก่ เดิมชื่อเป่ยผิง  (Beiping ) แปลว่า สันติภาพแห่งทิศอุทร ต่อมาเปลี่ยนเป็น เป่ยจิง ( Beijing ) แต่คนไทยสะดวกที่จะเรียกว่า ปักกิ่งมากกว่า คำว่า “เป่ยจิง” ซึ่งแปลว่าเมืองหลวงแห่งทิศอุดร ซึ่งตรงกับตำแหน่งที่ตั้งของเมือง เมื่อ 1000 ปีก่อนคริสตกาล




7.มณฑลคุณหมิง
แม้ว่าพื้นที่ของคุณหมิงจะมี การตั้งรกราก และผ่านประวัติศาสตร์มานานนับ 2,000 ปี แต่คุณหมิงวันนี้ก็เปลี่ยนไป ด้วนถนนหนทางที่กว้างขวาง ตึกราบ้านช่องผุดขึ้นอย่างมากมาย 







8.มณฑลเทียนจิน
เมืองเทียนสิน เป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ เป็นเมืองคู่แฝดของปักกิ่ง มีฐานะเป็นเขตปกครองพิเศษ หรือ มหานครเช่นเดียวกัน และเป็นเมืองท่าที่สำคัญ มีเนื้อที่ 11,000 ตารางกิโลเมตร








9.มณฑลหยุนหนาน
มณฑลหยุนหนาน ตามที่คนไทยนิยมเรียก เป็นมณฑลหนึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีขนาดใหญ่อันดับ 6 ของประเทศ มีพื้นที่ 394,000 ตารางกิโลเมตร ประชากร 34 ล้านคน เป็นชาวจีน และชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ อาทิ ไป๋ นู่ น่าซี มองโกล ทิเบต ไต








ที่มา:
http://www.oecschool.com/China_pictures/travel%20in%20China.php




สถานที่ท่องเที่ยวในจีน


 ประเทศจีน เป็นประเทศเก่าแก่ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพัน ๆปี ผ่านมาแล้วทั้งร้อนทั้งหนาว ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ เพื่อดำรงชีวิตหรือเพื่อศักดิ์ศรี บางครั้งสู้รบกันเอง บางครั้งสู้รบกับคนต่างชาติ และบางครั้งก็สู้กับธรรมชาติ ความกล้าหาญ ความอดทน และความฉลาดหลักแหลมของบรรพชนรังสรรค์อารยธรรมที่เป็นต้นกำเนิด และวิทยาการที่ทรงคุณค่ามากมาย
       นับจากที่ องค์การยูเนสโก ได้ลงมติพิจารณา เขาไท่ซัน แห่งมณฑลซันตงของจีน ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติในปีค.ศ. 1987 เป็นต้นมา สิ่งมหัศจรรย์ในแผ่นดินใหญ่ได้ค่อยๆเปิดตัวสู่สายตาชาวโลกในเวลาต่อๆมา จนถึงปีค.ศ. 2003 จีนมีสถานที่สำคัญที่เป็นมรดกโลกแบ่งเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม 21 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 4 แห่ง และมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ 4 แห่ง รวมทั้งสิ้น 29 แห่ง นับเป็นจำนวนมากที่สุดในประเทศแถบเอเซีย
การท่องเที่ยวในเมืองจีน
       ประเทศจีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล และสถานที่สวยงามน่าสนใจมากมาย การเดินทางท่องเที่ยวให้ครบทั้งประเทศ ประมาณกันว่าต้องใช้เวลา 2 ปี เที่ยวเฉพาะเมืองสำคัญ แค่พอได้รู้จักใช้เวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ดังนั้นนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักเดินทางไปยังเมืองสำคัญ และสถานที่ที่เป็นจุดเด่น เราลองมาดูรายละเอียดเมืองที่น่าสนใจในเมืองต่างๆกันคะ มรดกโลก วัฒนธรรมและธรรมชาติ ปี 1987



1. เขาไท่ซัน-มณฑลซันตง มรดกโลก วัฒนธรรม ปี 1987
เขาไท่ซาน มีสภาพภูมิศาสตร์ทอดตัวยาวอยู่ท่ามกลางพื้นที่ราบสลับเนินเขาเตี้ยๆในมณฑล ซานตง ถิ่นกำเนิดของท่านขงจื๊อ ปรัชญาเมธีของจีน ยอดเขาหลัก อี้ว์หวง หรือจักรพรรดิหยก มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,545 เมตร ภูเขาไท่ซานถึงแม้จะไม่ใช่เทือกเขาที่มีความสูงมากนัก แต่ด้วยภูมิประเทศโดยรอบส่งให้เทือกเขาแห่งนี้โดดเด่นขึ้นเป็นแนวยาวทาง ตอนกลาง ราวกับเป็นกระดูกสันหลังของมณฑล




2. กำแพงเมืองจีน-ปักกิ่ง มรดกโลก วัฒนธรรม ปี 1987
กำแพงเมืองจีน หรือว่านหลี่ฉางเฉิงมีความยาวประมาณ 6,700 กิโลเมตร เริ่มต้นจากทะเลโป๋ไห่ทอดผ่านแผ่นดิน 9 มณฑล ไปสิ้นสุดที่ทะเลทรายมณฑลกานซูทางตะวันตกของประเทศ 






3. กู้กง(พระราชวังต้องห้าม)-ปักกิ่ง มรดกโลก วัฒนธรรม ปี 1987
สร้างในรัชสมัยจักรพรรดิหย่ง เล่อแห่ง ราชวงศ์หมิง ระหว่าง ค.ศ. 1406 - 1420 และมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยรัชกาลต่อๆมา อาณาเขตของรชวังล้อมด้วยกำแพงสูงโดยรอบทั้งสี่ด้าน มีประตูผ่านเข้าสู่วังทางทิศใต้ด้านประตูเทียนอันเหมิน ภายในมีเนื้อที่กว้างขวางถึง 720,000 ตารางเมตร 






4. เทียนทาน หรือ วัดสวรรค์ สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง
เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับประกอบพิธีบรมราชาภิเษก พิธีไหว้ฟ้าดิน และเทพเจ้าต่างๆ เพื่อขอพรให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมีความสุข พืชพันธ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ตั้งอลู่ใจกลางสวนขนาด 267 เฮกตาร์ ประกอบด้วยซีเหนียนเตี้ยน







5. จัตุรัสเทียนอันเหมิน
เทียนอันเหมิน แปลว่า สงบดังอยู่ในสวรรค์ จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นลานซีเมนต์กว้างใหญ่ถึง 275 ไร่ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวังต้องห้าม ใช้เป็นที่ประกอบพิธีใหญ่และงานชุมนุมสำคัญของประเทศ เมื่อเหมาเจ๋อตุงประกาศสถาปนาประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนก็กระทำที่นี






ที่มา:
http://www.oecschool.com/China_pictures/travel%20in%20China.php












วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

วิวัฒนาการวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีน


วิวัฒนาการวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีน

          เชื่อ ว่าหลายท่านที่เป็นคอละครหนังจีนกำลังภายในหรือย้อนยุค คงเคยเกิดความสงสัยอย่างที่ผู้เขียนสงสัย นั้นก็คือความหลายหลายของเสื้อผ้าตัวละครในหนังจีน  ว่า ทำไมแต่ละเรื่องการแต่งกายจึงมีความไม่เหมือนกัน เสื้อผ้าและทรงผมแบบนี้มีอยู่จริงหรือ หลายท่านคงเดาออกว่าประวัติศาสตร์ชาวจีนมีมานานแสนนาน มีมาหลายราชวงศ์ แต่ก็สับสนทุกครั้งที่ชมละครหรือภาพยนตร์จีน

                ใน ฉบับนี้ผู้เขียนจึงขอพูดถึงหัวข้อวิวัฒนาการวัฒนธรรมการแต่งกายชาวจีนแก่ ท่านผู้อ่าน เพื่อท่านผู้อ่านสามารถชมละครหรือภาพยนตร์จีนให้ได้อรรถรสของกลิ่นอาย วัฒนธรรมชาวจีน ในยุคเก่าก่อน

ประวัติ ศาสตร์ของประเทศจีนมีมานานถึง 5 พันปี วัฒนธรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวจีนก็มีมายาวนานไม่แพ้กัน ซึ่งในระยะเวลา 5 พันปีมานั้น  ชาวจีนได้รับอิทธิพลเครื่องแต่งกายจากชนกลุ่มน้อย เผ่าต่าง ๆ ในประเทศจีน  รวม ถึงวัฒนธรรมการแต่งกายเสื้อผ้าของชาวต่างชาติ ผสมผสานกันจนเป็นลักษณะพิเศษของการแต่งกายชาวจีนในยุคนั้น ๆ ซึ่งการแต่งกายของชาวจีนนั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

              เนื่อง จากชนกลุ่มน้อยเผ่า ๆ ต่างในประเทศจีนมีอยู่ถึง 42 เปอร์เซนต์ ของประชากรจีนทั้งหมด ซึ่งเมืองที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เยอะที่สุดคือเมือง หวินหนาน จึงจำเป็นที่จะต้องแยกประเภทวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีน( 历代服饰 ) และกลุ่มการแต่งกายของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในประเทศจีน ( 民族服饰 ) ซึ่งมีอยู่ถึง 50 กว่า ชนเผ่า  ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มักจะมีการแต่งกายที่มีลักษณะเอกลักษณ์และมักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ในฉบับนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงวัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโดยสังเขป


วัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีน ( 历代服饰 )

สมัยฉิน  (秦221-220 ปีก่อนคริสต์ศักราช)


ข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไป 


เสื้อผ้าผู้หญิง 



สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย   ( 魏晋南北 ค.ศ.220- ค.ศ.589)  





สมัยสุ่ย และสมัยถัง  (隋唐 ค.ศ. 581-ค.ศ. 907)


 เสื้อผ้าผู้หญิงสมัยสุ่ย แลดูเรียบง่าย



ชุดกษัตริย์สมัยสุ่ยและถัง 




เสื้อผ้าผู้ชายสมัยถัง  

 เสื้อผ้าสตรีสมัยถัง



สมัยซ่ง  ( 宋ค.ศ.960 - ค.ศ.1279)



 เสื้อกั๊กสมัยซ่ง  




สมัยเหวี่ยน   (元ค.ศ.1206 - ค.ศ.1368)



เสื้อผ้าสตรีสมัยเอวี่ยน



สมัยหมิง  (明ค.ศ.1368 - ค.ศ.1645) 

เครื่องแต่งกายชาย สวมหมวกผ้าทรงสี่เหลี่ยม


  เสื้อกั๊กและเสื้อผ้าสตรี








สมัยชิง  ( 清ค.ศ.1644 - ค.ศ.1911 )


เครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีสมัยชิง  



สมัยปฏิวัติซินไฮ่  (近代ค.ศ.1911-ค.ศ.1949)


 ชุดฟรอม์จงซานของคุณซุนจงซาน   

  ชุดกี่เพ่าแขนกุด 



             เสื้อผ้าสตรีหลังจากยุคปฏิวัติซินไฮ

ที่มา:
http://www.jiewfudao.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538722991&Ntype=2









นิทาน

นิทานเกี่ยวกับไหว้เจ้าแห่งเตาไฟ


ช่วงเวลากว่า 2000 ปีที่ผ่านมา จีนมีประเพณีไหว้เจ้าในวันที่ 23 เดือนอ้ายตามจันทรคติ เพื่อแสดงขอบคุณเจ้าแห่งเต้าไฟ

 เจ้า แห่งเตาไฟเป็นเทวดาในเทพนิยายจีนโบราณ เป็นข้าราชการที่พระเจ้าอยี้หวงแห่งสวรรค์จัดส่งไปดูแลทุก ๆ ครอบครัวในโลกมนุษย์ แต่ละปี เจ้าแห่งเตาไฟต้องกลับขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อรายงานสภาพของครอบครัวต่าง ๆ ให้พระเจ้าหยี้หวงรับทราบ ผู้คนจึงต้องเอาใจเจ้าแห่งเตาเพื่อจะได้รับคำชมจากเขา    จึงกลายเป็นประเพณีไหว้เจ้าแห่งเจาไฟในแต่ละปี นิทานเกี่ยวกับการไหว้เจ้าแห่งเจาไฟมีมากมาย และสนุกด้วย

 เล่า กันว่าในโบราณมีเศสฐีคนหนึ่งชื่อจางเซิง เมียของเขาชื่อติงเซียง หน้าตาสวยงามและนิสัยดีมาก ทีแรก สามีภรรยาคู่นี้อยู่ร่วมกันอย่างดีและใช้ชีวิตด้วยกันอย่างมีความสุข ต่อมาวันหนึ่ง จางเซิงทำไปธุรกิจนอกบ้าน ได้พบสาวสวยคนหนึ่งชื่อไห่ถัง เกิดติดใจขึ้มาทันที นางสาวไห่ถังก็เห็นแก่ความร่ำรวยของนายจางเซิง จึงเอาอกเอาใจเขา ไม่นาน นายจางเซิงก็รับนาวสาวไห่ถังเข้าบ้านเป็นเมียน้อย แต่ไห่ถังเห็นว่าติงเซียงสวยกว่าตน และเป็นเมียหลวงด้วย จึงเกิดอารมณ์อิจฉา และบังคับให้นายจางเซิงขับไล่ติงเซียงออกจากบ้าน

ต่อ จากนั้น จางเซิงกับไห่ถังก้เอาแต่กิน ๆ เล่น ๆ ทุกวัน ไม่ถึงสองปี เงินทองก็ถูกใช้จนหมดแล้ว ไห่ถังเห็นว่านายจางเซิงกลายเป็นคนจนแล้ว ก็เลยออกจากบ้านไปแต่งงานกับคนอื่น นายจางเซิงต้องเร่ร่อนขอทานไปตามถนน วันหนึ่งหิมะตกหนักมาก นายจางเซิงทั้งหนาวทั้งหิว สุดท้ายก็ล้มลงที่หน้าบ้านคนรวยคนหนึ่ง สาวรับใช้ของบ้านนี้เห็นแล้วก็รีบพาเขาเข้าห้องครัว และบอกกับคุณนายผู้หญิงเจ้าขอบ้าน สักครู่คุณนายผู้หญิงก็มาดูเขา นายจางเซิงลืมตาเห็นเจ้าของบ้าน ตกใจครั้งใหญ่ เพราะเจ้าของบ้านก็คือติงเซียงที่ถูกเขาทอดทิ้งเมื่อสองปีก่อนนั่นเอง นายจางเซิงรู้สึกอับอายมาก  จึง รีบหาที่ซ่อนตัว  พอเห็นเตาหุงอาหารในครัว ก็ซุกตัวเข้าไปข้างในเตา ติงเซียงเข้ามาถึงห้องครัวไม่เห็นคนขอทาน รู้สึกแปลกใจมาก มองไปมองมา ได้เห็นมีอะไรอุดอยู่ที่ปากเตา จึงดึงออกมา พอเห็นหน้าก็รู้ว่าเป็นสามีเก่าของตนแต่ถูกเผาตายเสียแล้ว ติงเซียงเศร้าโศกอย่างยิ่งและเสียชีวิตในอีกไม่นานต่อมา พระเจ้าอยี้หวงรู้เรื่องนี้แล้ว คิดว่านายจางเซิงกล้ายอมรับความผิดของตน ยังคงเป็นคนที่ใช้ได้ ก็เลยแต่งตั้งให้เขาเป็นเจ้าแห่งเจาไฟ และให้ติงเซียงเป็นเจ้าแห่งเจาไฟหญิง คนรุ่นหลังจึงได้ตั้งป้ายเจ้าแห่งเจาไฟสองที่พร้อมกันและบูชาในห้องครัว

 ใน สมัยโบราณ ผู้คนหวังว่าเจ้าแห่งเจาไฟเพียงจะรายงานเรื่องดี ๆในครอบครัวของตนให้พระเจ้าอยี้หวงรับทราบ ก็เลยเอาน้ำตาล จ้าวถัง เป็นของไหว้บูชาด้วย น้ำตาล จ้าวถัง เป็นน้ำตาลข้าวมอลท์ชนิดหนึ่ง ทั้งหวานและเหนียว พอใส่เข้าปากแล้ว เหนียวจนติดฟัน ผู้คนเอาน้ำตาลชนิดนี้ถวายเจ้าแห่งเตาไฟ คิดว่าพอเจ้าแห่งเจาไฟกินน้ำตาล จ้าวถัง เข้าปากแล้วคงจะปากหวานขึ้น และจะรายงานแต่เรื่องที่ดีไม่พูดเรื่องเสีย ความเชื่อดังกล่าวก็คงเป็นความหวังที่แสนตลกและน่าขบขันชนิดหนึ่งเท่านั้น








นิทานเกี่ยวกับฉูซีหรือวันส่งท้ายปีเก่า

 คืนสุดท้ายของเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีนเรียกว่าฉูซี คำว่า ฉู มีหมายความว่าตัดทิ้ง คำว่า ซี  หมาย ความว่าคืน คำว่าฉูซีก็คือตัดทิ้งคืนสุดท้ายของปีเก่าเพื่อต้อนรับปีใหม่ ในประเทศจีน ฉูซียังมีชื่ออื่นเช่นฉู เหนียนเย่หรือ ซาจับเม้

 ใน จีนมีประเพณีพื้นเมืองเกี่ยวกับฉูซีมากมาย สิ่งสำคัญอันแรกคือทำความสะอาด หลายวันก่อนคืนส่งท้ายปีเก่า ผู้คนจะกวาดบ้านถูพื้นให้สะอาด พอถึงวันส่งท้ายปีเก่าจะทำความสะอาดครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อขจัดของเก่าและรับรองของใหม่ ประเพณีอันนี้มาจากนิทานเรื่องเล่าว่า ในสมัยโบราณมีชายคนหนึ่งที่ขี้เกียจทำงาน ใส่เสื้อเก่าสกปรก กินข้าวต้มที่มีแต่น้ำไม่มีข้าว ในคืนส่งท้ายปีเก่าของปีใด ปีหนึ่ง ชายคนนี้ก็อดข้าวและหนาวตายในบ้าน ดังนั้นพอถึงวันส่งท้ายปีเก่า ผู้คนจึงพากันทิ้งเสื้อผ้าเก่าและอาหารที่เหลือก่อนปีใหม่ เพื่อไม่ให้ความยากจนมาถึงบ้านของตน

 หลัง จากทำความสะอาดแล้ว จะติดคำกลอนคู่บนประตูบ้านของตน และแขวนโคมไฟเพื่อสร้างบรรยากาศเทศกาล คืนส่งท้ายปีเก่าหรือ ฉูซี จะดื่มน้ำดื่มชนิดหนึ่งชื่อว่า ถูซู ซึ่งผลิตจากเหล้าหรือน้ำ เล่ากันว่า มีคนโบราณคนหนึ่งอาศัยอยู่ในกระท่อมหลังหนึ่งชื่อ ถูซู คนนี้เป็นคนพิเศษมาก เขาทำงานขุดหาสมุนไพรในป่าเขาโดยเฉาพาะ พอถึงวันฉูซีก็เอาสมุนไพรจีนที่ปรุงเสร็จแล้วไปส่งตามหมู่บ้าน และบอกกับชาวบ้านว่า ให้ทั้งครอบครัวดื่มในวัน ชิวอิ๊ต หรือวันขึ้นปีใหม่จีน ยานี้สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บและขจัดภัยต่าง ๆ ได้ เขายังบอกตำรายาให้ชาวบ้านอย่างเปิดเผย ดังนั้น ชาวบ้านท้องถิ่นจึงเรียกยาชนิดนี้ว่า ถูซู ยาตัวนี้ประกอบด้วยสมุนไพรจีน 7 ชนิด สามารถป้องกันรักษาโรคได้ดี

คืน ส่งท้ายปีเก่ามีประเพณีโต๊ะรับประทานอาหารพร้อมหน้ากัน ในวันนี้ สมาชิกครอบครัวทุกคนต้องกลับมาบ้านพ่อแม่พร้อมหน้าพร้อมต้ากัน จัดอาหารอร่อยที่สุดมาวางเต็มโต๊ะ ร่วมกันฉลองวันส่งท้ายปีเก่า

ใน ท้องที่ต่าง ๆ ของจีน อาหารบนโต๊ะจะไม่ค่อยเหมือนกัน ในภาคใต้ อาหารมื้อนี้จะมีกับข้าวสิบกว่าอย่าง ในนี้ต้องมีต้าวหู้และปลา เพราะออกเสียงคล้ายกับคำว่าฟู่อยู้ซึ่งมีความหมายแปลว่าร่ำรวย ในภาคเหนืออาหารบนโต๊ะส่วนมากจะเป็นเกี๊ยวน้ำ สมาชิกทุกคนในครอบครัวร่วมมือกันทำ เอาใส้หมูสดใส่ในหนังแป้งบาง ๆ แล้วต้มในน้ำเดือด พอต้มสุกแล้ว สมาชิกทั้งครอบครัวรวมตัวกันนั่งกินเกี๊ยวเพื่อให้ได้ความหมายอยู่พร้อมหน้า พร้อมตากันเป็นครอบครัวที่อบอุ่นสนิทกัน

ค่ำ วันส่งท้ายปีเก่าหรือฉูซี ผู้ใหญ่พาลูก ๆ ไปใอบของขวัญให้บ้านเพื่อน ๆ หรือญาติพี่น้องเพื่อฉลองปีใหม่ เรียกว่า ขวุ้ยเสว้ย การเชิญคนอื่นมาทานข้าวที่บ้านเรียกว่า เปี๋ยเสว้ย หลังจากทานข้าวเสร็จแล้ว ก่อนกลับบ้านจะให้คำอวยพรแก่กันเรียกว่า ส่านเสว้ย ส่วนลูกหลานในบ้านจะกล่าวแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะมีคำสอนคำอวยพรต่อลูกหลาน และให้อั่งเปาแก่เด็ก ๆ ในบ้าน สุดท้ายกล่าวอวยพรปีใหม่อีกที นนี่เรียกว่า ฉือเสว้ย ค่ำวันนี้ ผู้คนต่างไม่ยอมเข้านอน ทั้งครอบครัวจะดูโทรทัศน์หรือเล่นไพ่กันจนถึงเวลาปีใหม่มาถึง นี่เรียกว่า โส่วเสว้ย     

 โส่ว เสว้ย เป็นกิจกรรมในคืนส่งท้ายปีเก่าที่ชาวจีนนิยมมาก นายลู่เหยียวนักกวีโบราณจีนที่มีชื่อเสียงเคยแต่งกลอน โส่วเส้วย เขียนถึงเด็ก ๆ ทั้งหลายที่ไม่ยอมเข้านอน เล่นเฮฮากันทั้งคืน ในคืนฉูซี เด็ก ๆ ทั้งหลายดีใจที่สุด เพราะวันปกติจะถูกพ่อแม่ควบคุม แต่วันนี้ไม่มีใครมาไล่ให้เข้ารนอน สามารถโส่วเสว้ยอยู่กับพ่อแม่จนถึงท้องฟ้าสว่างปีใหม่มาถึง เต็มไปด้วยบรรยากาศปิติยินดีที่ส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่








ที่มา:
http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0001-1.html



สอนพินอินและการออกเสียง Pinyin

ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=pCpKNzC9cKM&feature=relmfu

สอนการเขียนอักษรจีน ตามลำดับขีด

ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=Yvt7CUBO4SE

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

วิวัฒนาการของตัวอักษรจีน


การวิวัฒนาการของตัวอักษรจีน มีการพัฒนาของการเขียน กล่าวโดยรวมอักษรจีนได้ผ่านการปฎิรูป 7 ครั้ง ดังนี้

1. อักษรเจี๋ยกู่เหวิน เป็นอักษรที่แกะสลักไว้บนกระดองเต่า และกระดูกสัตว์ อยู่ในสมัยราชวงศ์เซี่ยและซาง







2. อักษรโลหะ เป็นอักษรจีนที่หลอมบนเครื่องใช้โลหะ อยู่ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก







3. อักษรจ้วนซู เป็นอักษรจีนที่เน้นความสวยงาม แต่ยุ่งยากในการเขียน อยู่ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก ราชวงศ์จิ๋น และราชวงศ์ฮั่น








4. อักษรลี่ซู เป็นอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรจ้วนซู อยู่ในสมัยราชวงศ์ฉิน และสมัยราชวงศ์ฮั่น






5. อักษรเฉ่าซู (ตัวหวัด) เป็นอักษรจีนที่อ่านเข้าใจยาก อยู่ในสมัยราชวงศ์จิ้น และสมัยหนันเป่ยเฉา






6. อักษร สิงซู เป็นอักษรจีนที่สวยงาม เขียนง่าย และอ่านเข้าใจง่าย อยู่ในสมัยราชวงศ์จิ้น และสมัยหนันเป่ยเฉา









7. อักษรไข่ซู เป็นอักษรจีนที่บรรจงที่สุด อยู่ในสมัยราชวงศ์ซุย และสมัยราชวงศ์ถัง จนถึงปัจจุบัน







ที่มา:
http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0001-1.html






เทศกาลหยวนเซียว

 วัน ขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีนเป็นเทศกาลหยวนเซียว ซึ่งเป็นเทศกาลเก่าแก่อีกเทศกาลหนึ่งของจีน และเป็นเทศกาลที่ต่อจากเทศกาลตรุษจีน

 คืน ของเทศกาลหยวนเซียวเป็นคืนแรกของปีใหม่ที่เห็นพระจันทร์เต็มดวง คืนนั้น มีประเพณีแขวนโคมไฟ ดังนั้น เทศกาลหยวนเซียวมีอีกชื่อหนึ่งว่า“เทศกาลโคมไฟ” การชมโคมไฟและการกินขนมหยวนเซียวเป็นกิจกรรมสำคัญของเทศกาลหยวนเซียว เหตุใดต้องแขวนโคมไฟในเทศกาลหยวนเซียว

 เล่า กันว่า เมื่อปี 180 ก่อนคริสต์กาล กษัตริย์ฮั่นเหวินตี้ของราชวงศ์ฮั่นขึ้นครองราชย์ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้าย เืพื่อฉลองเรื่องนี้ กษัตริย์ฮั่นเหวินตี้กำหนดวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายเป็นเทศกาลโคมไฟ พอถึงคืนนั้น พระองค์จะเสด็จออกจากวังไปร่วมสนุกกับประชาชน วันนั้น ไม่ว่าบ้านเล็กบ้านใหญ่ ตรอกซอกซอยล้วนจะแขวนโคมไฟหลากสีที่มีรูปลักษณะต่างๆให้ชมกัน  ถึง ปี 104 ก่อนคริสตกาล เทศกาลหยวนเซียวได้รับการกำหนดเป็นเทศกาลสำคัญแห่งชาติ ทำให้การฉลองเทศกาลหยวนเซียวมีขนาดใหญ่โตยิ่งขึ้น ตามข้อกำหนด สถานที่สาธารณะต่่างๆและทุกบ้านต้องประดับโคมไฟ โดยเฉพาะย่านการค้าและศูนย์วัฒนธรรมต้องจัดงานโคมไฟขนาดใหญ่ ไม่ว่าผู้หญิงผู้ชาย เด็กหรือผู้เฒ่าล้วนจะไปชมโคมไฟ ทายปริศนาโคมไฟและเชิดโคมไฟมังกรตลอดคืน ต่อมา ประเพณีนี้ได้สืบทอดกันมาทุกยุคทุกสมัย ตามการบันทึก ปีค.ศ. 731 สมัยราชวงศ์ถางเคยทำภูเขาโคมไฟสูง 7 เมตรที่ประกอบด้วยโคมไฟกว่า 5 หมื่นดวงตั้งอยู่ในเมืองฉางอัน เมืองหลวงของราชวงศ์ถาง

 โคมไฟที่แขวนโชว์ในเทศกาลหยวนเซียวส่วนมากจะทำด้วยกระดาษสีต่างๆ จะทำเป็นรูปภูเขา สิ่งก่อสร้าง คน ดอกไม้ นกและสัตว์ชนิดต่างๆ โคมไฟ“โจ่วหม่าเติง”เป็นโคมไฟที่มีเอกลักษณ์ของจีนอย่างเด่นชัด โคมไฟ“โจ่วหม่าเติง”เป็น ของเล่นชนิดหนึ่ง มีประวัติกว่าพันปีแล้ว ภายในโคมไฟได้ติดตั้งล้อวงจักร พอจุดเทียนในโคมไฟ กระแสอากาศที่ได้รับความร้อนจากเปลวเทียนจะดันวงจักรที่ติดกระดาษรูปคนขี่ ม้าในอิริยบถต่างๆหมุนไปตามวงจักร เงาของรูปคนขี่ม้าจะสะท้อนอยู่บนกระดาษชั้นนอกของโคมไฟ มองแล้วเสมือนม้ากำลังวิ่งห้อตะบึง

 การ กินขนมหยวนเซียวเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของเทศกาลหยวนเซียว สมัยราชวงศ์ซ่ง ประชาชนนิยมกินขนมพื้นบ้านชนิดหนึ่งในเทศกาลโคมไฟ ขนมชนิดนี้มีรูปลักษณ์กลม ทำด้วยแป้งข้าวเหนียว ข้างในมีไส้หวาน ภาคเหนือของจีนเรียกขนมชนิดนี้ว่า“หยวนเซียว”ส่วนภาคใต้เรียก“ทังหยวน” หรือ“ทังถวน”

 ปัจจุบัน ขนมหยวนเซียวมีไส้หลายสิบชนิด เช่น ซันจา พุทรา ถั่วแดง โหงวยิ้น งา เนยและช็อกโกแลตเป็นต้น รสชาติของหยวนเซียวในพื้นที่ต่างๆจะแตกต่างกัน

 นอกจากชมโคมไฟและกินขนมหยวนเซียวแล้ว เทศกาลหยวนเซียวยังมีกิจกรรมละเล่นต่างๆมากมาย เช่น ระบำไม้ต่อขา รำพัด เชิดสิงห์โตเป็นต้น  โดย เฉพาะการเชิดสิงห์โต มิเพียงแต่ในปะเทศจีนเท่านั้น ไม่ว่าแหล่งชุมชนชาวจีนในแห่งหนตำบลใดของโลกก็ตาม พอถึงเทศกาลสำคัญๆก็จะจัดการแสดงเชิดสิงห์โตทั้งนั้น การเชิดสิงห์โตแบ่งเป็นสำนักใต้กับสำนักเหนือ การเชิดสิงห์โตของสำนักใต้เน้นอิริยาบถและเทคนิคท่วงท่า ส่วนมากใช้สองคนเชิด  ส่วนสำนักเหนือจะเน้นความสง่าผ่าเผย ปกติจะมี 10 กว่าคนกระทั่งหลายสิบคนเชิดด้วยกัน ขณะเชิดสิงห์โตนั้น จะมีดนตรีพื้นเมืองของจีนเล่นประกอบด้วย ไม่ว่าผู้แสดงหรือผู้ชม ต่างสนุกสนานกันถ้วนหน้า ทำให้บรรยากาศของเทศกาลหยวนเซียวคึกคักยิ่ง




เทศกาลวันเช็งเม็ง

 วัน เช็งเม๊งเป็น 1 ของ 24 ฤดูกาลตามจันทรคติของจีน ส่วนมากจะเป็นช่วงเวลาต้นเดือนเมษายนตามปฏิทินสมัยปัจจุบัน พอถึงวันนี้ ผู้คนจะเดินทางไปชานเมือง เพื่อกราบไหว้รรพบุรุษ เดินเที่ยวชมวิว และเก็บกิ่งหลิวกลับมาเสียบประตูบ้าน

 ใน ท้องที่บางแห่งของจีนเรียกวันเช็งเม็งว่าเป็นเทศกาลผี จะเห็นได้ว่านี่เป็นวันเส้นไหว้บรรพบุรุษ เวลาก่อนและหลังวันเช็งเม็ง ทุกครอบครัวจะไปไหว้หลุมบรรพบุรุษ ตัดทิ้งญ้ารกที่ขึ้นตามหลุมศพ เพิ่มดินใหม่บนหลุม แล้วจุดธูปเทียน เผากระดาษเงินกระดาษทองกราบไหว้แสดงความไว้อาลัย มีกลอนโบราณยุคซ้องได้บรรยายถึงสภาพของประเพณีไหว้หลุมศพว่า สุสานบนเขาเหนือใต้ ผู้คนกราบไหว้วันเช็งเม็ง กระดาษเงินทองปลิวว่อนคลั่งผีเสื้อ เลือดและน้ำตาหลั่งชะโลมดอกตู้เจียนให้แดงสะพรั่ง

 เล่ากันว่าวันเชงเม๊งเริ่มขึ้นในสมัยราชวงค์ฮั่น (ก่อนค.ศ.206 – ค.ศ 220) จนถึงสมัยราชวงค์หมิงและสมัยราชวงค์ชิง พิธีไหว้หลุมบรรพบุรุษพัฒนาถึงขั้นสูงสุด บางคนมิเพียงแต่เผากระดาษเงินกระดาษทองที่หน้าสุสานแล้ว ยังทำกับข้าว 10 อย่างไปวางไว้หน้าสุสานด้วย

 การ ไหว้่สุสานบรรพบุรุษในเทศกาลเช็งเม็งเป็นประเพณีสำคัญของจีน และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เพียงแต่ว่าพิธีไหว้จะเรียบง่ายกว่าสมัยก่อน มีรูปแบบทั้งการไหว้ของแต่ละครอบครัว และการไหว้ที่จัดโดยองค์กรและหมู่คณะต่าง ๆ  โดยผู้คนจะพากันไปไหว้สุสานของวีรบุรุษที่สละชีพเพื่อชาติ โดยวางดอกไม้สดหรือต้นสนต้นเล็กเพื่อแสดงความไว้อาลัย

 วัน เช็งเม็งอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของจีน แม้ว่างานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการไหว้บรรพบุรุษเป็นหลักก็ตาม แต่ในระหว่างประวัติศาสตร์อันยาวนานนั้น ผู้็้คนยังถือโอกาสนี้เป็นการออกนอกบ้านท่องเที่ยวตามชานเมือง ชมต้นไม้สีเขียวที่ไม่ได้เห็นในฤดูหนาวเป็นเวลาหลายเดือน ท้องที่บางแห่งของจีนจึงเรียกเทศกาลเช็งเม็งว่าเป็นเทศกาลวันเหยียบสีเขียว

 ใน สมัยโบราณยังมีประเพณีที่เดินเที่ยวชมสีเขียวตามชานเมืองและเด็ดดอกไม้ของ ผักสดชนิดหนึ่งชื่อว่า ฉีไช่ แต่ประเพณีนี้ยากที่จะเห็นได้ในสมัยปัจจุบัน คือก่อนและหลังวันเช็งเม็ง ผู้หญิงหรือสาว ๆ มักจะออกจากบ้านไปเที่ยวตามชานเมืองและเด็ดผักป่าสด ๆ กลับมาบ้าน ทำเป็นใส้เกี๊ยวน้ำ รสชาติอร่อยมาก ผู้หญิงบางคนยังเอาดอกสีขาวของผักฉีทำเป็นปิ่นผม ช่วงเทศกาลเช้งเม็ง ชาวจีนยังนิยมการเล่นวาก เล่นชักคะเย่อและเล่นชิงช้าเป็นต้น

 ทำไม วันเช้งเม็งใช้คำว่าเช็งเม็ง ตามภาษาจีนกลาง เช็งเม็งหมายความว่าสดชื่น สว่างและแจ่มใส ก็เพราะว่าช่วงนี้เป็นต้นฤดูใบไม้ผลิ ท้องฟ้าแจ่มใสอากาศสดชื่น ญ้ากำลังขึ้นเขียว ป่าไม้เริ่มผลิดอกออกใบ  เป็น ช่วงเวลาเริ่มทำไร่ไถน่า ในสำนวนการเกษตรของจีนมีการบรรยายถึงเทศกาลเช็งเม็งกับการเกษตร เช่น ชิงหมิงเฉียนโฮ่ว จ้งกวาจ้งโต้ว ความหมายคือก่อนและหลังช่วงเวลาเช็งเม็ง เป็นเวลาเหมาะสมที่จะปลูกแตงปลูกถั่ว และยังมีสำนวนกล่าววว่า การปลูกต้นไม้ต้นใหม่ต้องไม่เกินเทศกาลเช็งเม็ง ช่วงเวลาก่อนเช็งเม็งพืชอะไรก็ปลูกขึ้นได้ดีหมด

 ใน เทศกาลเช็งเม็งยังมีกิจกรรมปลูกต้นไม้ มีกลอนโบราณจีนที่บรรยายทิวทัศน์ว่า ต้นหลิวทั่วเมืองออกใบสีเขียวอ่อนเหมือนหมอกสีเขียวเต็มท้องฟ้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของช่วงเทศกาลเช็งเม็ง









ที่มา:
         http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0001-1.html


เทศกาลต่างๆๆของจีน

เทศกาลขนมบ๊ะจ่าง (ตวน อู่ เจี๋ย)


ตรงกับวันที่ 5 ของเดือน 5 ตามปฏิทินจีน บางครั้งจึงเรียกว่างานเทศกาลเดือน 5 เป็นวันที่ระลึกถึง ชวี หยวน นักกวีผู้มีชื่อเสียงของจีน ทำให้วันนี้มีผู้คนเรียกว่าเทศกาลกวี ด้วย

ท่าน ชวี หยวน เป็นคนประเทศฉู่ เมื่อ 2 พันปี ก่อน ท่านทำงานอยู่ข้างกายฮ่องเต้ฉู่ แม้ว่าท่านได้ทำงานเพื่อประเทศฉู่ ด้วยความจงรักภักดีอย่างมาก แต่มิได้รับความเชื่อถือ ท่านจึงถอนตัวออกจากฮ่องเต้ กลับสู่บ้านเกิดในชนบท ท่านมีความจงรักภักดีต่อประเทศของท่านเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้ข่าวว่าประเทศฉู่ ถูกข้าศึกเข้ายึดครองเป็นเมืองขึ้น เกิดเสียใจอย่างรุนแรง ถึงกับกระโดดน้ำฆ่าตัวตายในวันที่ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5

ผู้ คนร่วมหมู่บ้านของท่านมีความรักต่อท่านอย่างแท้จริง ต่างพากันพายเรือออกไป ตามหาอยู่หลายวัน แต่หาไม่พบ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ปลาในน้ำทำอันตรายต่อท่านชวีหยวน ชาวบ้านจึงพากันโยนบ๊ะจ่างลงในน้ำให้ปลากินแทน ต่อมาทุกๆ ปี ในวันที่ 5 เดือน 5 ผู้ คนจะพายเรือออกไปโยนบ๊ะจ่างลงในน้ำเป็นประจำ แต่ประเพณีได้กลายมาเป็นการรับประทานบ๊ะจ่าง และเพิ่มเติมประเพณีการแข่งเรือมังกรเข้ามาด้วย

เรือ มังกรคือเรือที่ประดับโขนเรือเป็นหัวมังกรซึ่งถูกนำมาพายแข่งขันกันใน บรรยากาศ ที่สนุกสนาน มิใช่แต่ชาวจีนเท่านั้นที่ชอบการแข่งเรือมังกร นานาประเทศทั่วโลกต่างก็ชื่นชม ในประเทศจีนมีการแข่งขันเรือมังกรระดับนานาชาติหลายเมือง เช่นที่หูหนาน และฮ่องกง เป็นต้น










เทศกาลฉงหยาง



วันที่ 9เดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติของจีนเป็นเทศกาลเก่าแก่ของจีนคือเทศกาลฉงหยาง เมื่อถึงวันนั้น  ชาวจีนมีประเพณีไต่เขาชมดอกเก๊กฮวย ปักต้นจูหยูและกินขนมฮวาเกา



เนื่องจากชาวจีนสมัยโบราณเชื่อกันว่า ตัวเลข 9 เป็นเลขหยาง วันที่ 9 เดือน 9 มี 9 สองตัวหรือหยางเป็นคู่ จึงเป็นวัน”ฉงหยาง”  เกี่ยว กับที่มาของเทศกาลฉงหยาง มีนิทานเล่ากันว่า เมื่อศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์กาล มีเซียนที่มีอิทธิฤทธิ์มากองค์หนึ่งชื่อเฟ่ยฉางฝาง เขาไม่เพียงแต่สามารถเรียกลมเรียกฝนได้เท่านั้น หากยังสามารถขับไล่ภูตผีปีศาจได้ด้วย มีหนุ่มคนหนึ่งชื่อหวนจิ่งเป็นลูกศิษย์ของเฟ่ยฉางฝาง วันหนึ่ง เฟ่ยฉางฝางกล่าวกับหวนจิ่งว่า“ในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 นี้ ทางบ้านเธอจะประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง เธอต้องเตรียมตัวไว้”หวนจิ่งได้ยินดังนั้นก็ตกใจมาก รีบคุกเข่าขอให้อาจารย์บอกวิธีหลบภัย เฟ่ยฉางฝางกล่าวว่า“วัน ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 เธอเตรียมถุงผ้าสีแดงไว้หลายๆใบ ข้างในใส่ใบจูหยู แล้วมัดไว้ที่ต้นแขน และอย่าลืมพกเหล้าที่แช่ดอกเก๊กฮวยด้วย พาสมาชิกทั้งครอบครัวไปดื่มเหล้าเก๊กฮวยบนเขาสักแห่งหนึ่ง  ครอบครัวของเธอก็จะรอดพ้นภัยร้ายแรงครั้งนี้ได้”จาก นั้น หวนจิ่งก็ปฏิบัติตามทุกอย่างที่อาจารย์สอนให้ พอถึงเช้าตรู่วันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 หวนจิ่งพาครอบครัวขึ้นไปอยู่บนเนินเขาแห่งหนึ่ พวกเขาดื่มเหล้ากันจนค่ำุจึงกลับบ้าน พอก้าวเข้าบ้านปรากฏว่า สัตว์เลี้ยงที่บ้านทั้งเป็ดไก่หมูหมาล้วนตายหมด ครอบครัวของหวนจิ่งรอดตายจริงๆ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเพณีการไต่เขา ปักต้นจูหยูและดื่มเหล้าเก๊กฮวยในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 จึงแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้



หวังเหวย กวีสมัยราชวงศ์ถัง เขียนกลอนเกี่ยวกับเทศกาลฉงหยางไว้บทหนึ่งชื่อว่า“วันที่ 9 เดือน 9 คิดถึงญาติพี่น้องทางบ้าน”ดังนี้

            เป็นแขกแปลกหน้าอยู่ต่างถิ่นแต่ผู้เดียว        

ย่อมคิดถึงญาติพี่น้องเป็นสองเท่ายามเทศกาลมงคล

ทราบจากทางไกลว่าญาติพี่น้องยืนบนยอดสูง       

เวลาปักต้นจูหยูปรากฏว่าขาดฉันไปหนึ่งคน



ขณะ แต่งกลอนบทนี้ หวังเหวยมีอายุเพียง 10 กว่าปี เขาพำนักอยู่ในกรุงปักกิ่งเพียงคนเดียว จึงอดคิดถึงบ้านไม่ได้ โดยเฉพาะยามเทศกาลมาถึง  เห็น ครอบครัวอื่นๆอยู่พร้อมหน้ากัน ยิ่งทำให้คิดถึงญาติพี่น้องทางบ้าน ยามเทศกาลฉงหยางมาถึง ทุกคนจะติดใบจูหยูไว้กับตัว แต่ครอบครัวของตนกลับขาดเขาไปคนหนึ่ง

ประเพณีอีกอย่างหนึ่งในเทศกาลฉงหยางคือ กินขนมฉงหยางเกา เนื่องจากคำว่า”เกา” ที่ แปลว่าขนม พ้องเสียงกับอีกคำหนึ่งที่แปลว่า สูง จึงมีความหมายแฝงว่า ได้ดิบได้ดีและไต่สูงขึ้นเรื่อยๆ ขนมนึ่งชนิดหนึ่งที่ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวและพุทราและปักธง 5 สีใบเล็กๆ เรียกว่า  “ฮวาเกา”  ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามเขตที่ราบที่ไม่มีภูเขาจะให้ไต่ในเทศกาลฉงหยาง ก็จะกินขนมฮวาเกาแทนการไต่เขา



ชาว จีนในสมัยโบราณเชื่อว่า เทศกาลฉงหยางเป็นเทศกาลแห่งอายุยืนยาว การปฏิบัติตามประเพณีต่างๆในเทศกาลฉงหยางสามารถทำให้มีอายุมั่นขวัญยืน


ทุก วันนี้ ชาวจีนยังคงมีประเพณีไต่เขาและชมดอกเก๊กฮวย ร้านค้าต่างๆจะขายขนมฮวาเกาในวันฉงหยาง ปีหลังๆมานี้ จีนยังได้กำหนดวันที่ 9 เดือน 9 นี้เป็นเทศกาลเคารพคนชรา เนื่องจากการออกเสียงของคำว่า 9 นั้น พ้องกับอีกคำหนึ่งซึ่งแปลว่า ยืนยาว ซึ่งมีความหมายแฝงว่า อายุยืนยาว ทำให้เทศกาลฉงหยางนอกจากมีความหมายดั้งเดิมแล้ว ยังเพิ่มความหมายใหม่ที่ว่า เคารพคนชราและขอให้คนชรามีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืนยาว










เทศกาลตวนอู่



วัน ที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติของจีนเป็นเทศกาลตวนอู่ของจีน เทศกาลตวนอู่ เทศกาลตรุษจีนและเทศกาลจงชิวหรือเทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลใหญ่สาม เทศกาลของจีน



สาเหตุที่ตั้งชื่อเทศกาลนี้ว่า“ตวนอู่”ก็เพราะว่า คำว่า“ตวน”ในภาษาจีนหมายถึงต้นหรือเริ่มต้น  วันที่ 5 เดือน 5 อยู่ในต้นเดือน 5   ส่วนตัวเลข 5 นั้นออกเสียงว่า“อู่ ” วันที่ 5 เดือน 5จึงเรียกว่า“ตวนอู่”



เกี่ยวกับความเป็นมาของเทศกาลตวนอู่ มีเรื่้องเล่าหลายอย่าง บางคนเห็นว่าเทศกาลตวนอู่สืบเนื่องจากประเพณี“เสี้ยจื้อ”หรือ ประเพณีฉลองการย่างเข้าฤดูร้่อนในสมัยโบราณ บางคนเห็นว่าเทศกาลนี้สืบเนื่องจากความเชื่อของประชาชนสมัยโบราณที่อาศัย อยู่ริมแม่น้ำแยงซีซึ่งบูชามังกรเป็นโทเทน แต่ตำนานเกี่ยวกับความเป็นมาของเทศกาลตวนอู่ที่แพร่หลายมากที่สุดคือ ตำนานที่เล่ากันว่าเทศกาลตวนอู่เป็นเทศกาลเพื่อรำลึกชวูหยวน นักกวีผู้รักชาติในสมัยโบราณของจีน



ชวู หยวนเป็นชาวก๊กฉู่ในยุคศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล หลังจากปิตุภูมิถูกก๊กอื่นยึดครองไปแล้ว ชวูหยวนกระโดดแม่น้ำมี่หลัวเจียงฆ่าตัวตายด้วยความแค้นเคือง  วันนั้นตรงกับวันที่ 5 เดือน 5    ต่อ มา พอถึงวันที่ 5 เดือน 5 ของทุกปี ประชาชนจะใช้ปล้องไผ่ใส่ข้าวสวยไว้ข้างใน โยนลงไปในแม่น้ำให้ปลากิน พร้อมภาวนาขอให้ปลาอย่ากินศพของชวูหยวน ต่อมา ปล้องไผ่ที่ใส่ข้าวสวยก็ค่อยๆพัฒนามาเป็นขนมบ๊ะจ่าง



การ กินขนมบ๊ะจ่างเป็นประเพณีสำคัญที่สุดในเทศกาลตวนอู่ วิธีทำขนมบ๊ะจ่างคือ ใช้ใบอ้อหรือใบไผ่ห่อข้าวเหนียว แล้วใช้ด้ายมัดให้แน่นเป็นรูปกรวยหรือรูปหมอน เสร็จแล้วนำไปต้มหรือนึ่งให้สุก ก่อนเทศกาลตวนอู่จะมาถึง  ทุกบ้านต้องทำขนมบ๊ะจ่าง พอถึงวันเทศกาล จะหิ้วขนมบ๊ะจ่างที่ทำเองไปเยี่ยมญาติมิตร

อาหาร ที่นิยมกินกันในเทศกาลตวนอู่นอกจากขนมปะจ่างแล้ว ยังมีไข่เค็ม เหล้าสุงหวง ซึ่งแต่ละอย่างล้วนมาจากความเชื่อเกี่ยวกับการสะเดาะเคราะห์ทั้งนั้น



นอก จากอาหารการกินแล้ว เมื่อถึงเทศกาลตวนอู่ ทุกบ้านต้องแขวนสมุนไพรสองชนิดไว้บนหน้าประตูบ้าน ด้านหนึ่งเพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคล อีกด้านหนึ่งก็เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ เนื่องจากในช่วงเวลาที่เพิ่งย่างเข้าฤดูร้อนนั้น มีฝนชุก อากาศชื้น เชื้อโรคจึงเกิดขึ้นง่าย การแขวนสมุนไพรสองชนิดนี้ไว้ที่หน้าประตูสามารถป้องกันโรคได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีประเพณีการใช้ด้ายห้าสีพันข้อมือของเด็ก เชื่อกันว่าเด็กจะได้มีอายุยืนยาวร้อยปี และจะเย็บกระเป๋าใบเล็กๆเป็นรูปเสือบ้าง รูปลูกน้ำเต้าบาง ข้างในใส่เครื่องหอม แขวนไว้ที่หน้าอกของเด็ก นอกจากนี้ ยังจะให้เด็กสวมรองเท้ารูปหัวเสือ และใส่ผ้าเอี๊ยมที่ปักรูปเสือ เพราะเชื่อว่าการทำเช่นนี้สามารถปกป้องเด็กให้พ้นจากโชคร้ายและความอัปมงคล



ใน พื้นที่ตอนกลางและตอนปลายของลุ่มแม่น้ำแยงซี การแข่งเรือมังกรเป็นประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในเทศกาลตวนอู่ เล่ากันว่า ประเพณีแข่งเรือมังกรก็เกี่ยวข้องกับชวูหยวนเช่นกัน  คือ เมื่อประชาชนทราบว่าชวูหยวนกระโดดแม่น้ำแล้ว ก็พากันพายเรือไปช่วยชีวิตเขาอย่างสุดความสามารถ ต่อมา ก็ค่อยๆกลายเป็นประเพณีการแข่งเรือมังกรในเทศกาลตวนอู่ การแข่งเรือมังกรมักจัดอย่างใหญ่โตมโหฬาร บางครั้งมีเรือเข้าร่วมถึง 50-60 ลำ เรือแต่ละลำจะประดับด้วยหัวมังกรในรูปทรงต่่างๆที่มีสีสันสดใส บนเรือตีฆ้องตีกลองดังสนั่นลั่นฟ้า เีสียงโห่ร้องไชโยดังขึ้นระลอกแล้วระลอกเล่า เรือแต่ละลำไล่กวดกันบนผิวน้ำ บนฝั่งมีธงหลากสีสะบัดพริ้วไปตามสายลม มีผู้มาชมการแข่งขันเต็มสองฝั่ง บรรยากาศครึกโครมอย่างยิ่ง





ที่มา:
http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0001-1.html