วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

เทศกาลต่างๆๆของจีน

เทศกาลขนมบ๊ะจ่าง (ตวน อู่ เจี๋ย)


ตรงกับวันที่ 5 ของเดือน 5 ตามปฏิทินจีน บางครั้งจึงเรียกว่างานเทศกาลเดือน 5 เป็นวันที่ระลึกถึง ชวี หยวน นักกวีผู้มีชื่อเสียงของจีน ทำให้วันนี้มีผู้คนเรียกว่าเทศกาลกวี ด้วย

ท่าน ชวี หยวน เป็นคนประเทศฉู่ เมื่อ 2 พันปี ก่อน ท่านทำงานอยู่ข้างกายฮ่องเต้ฉู่ แม้ว่าท่านได้ทำงานเพื่อประเทศฉู่ ด้วยความจงรักภักดีอย่างมาก แต่มิได้รับความเชื่อถือ ท่านจึงถอนตัวออกจากฮ่องเต้ กลับสู่บ้านเกิดในชนบท ท่านมีความจงรักภักดีต่อประเทศของท่านเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้ข่าวว่าประเทศฉู่ ถูกข้าศึกเข้ายึดครองเป็นเมืองขึ้น เกิดเสียใจอย่างรุนแรง ถึงกับกระโดดน้ำฆ่าตัวตายในวันที่ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5

ผู้ คนร่วมหมู่บ้านของท่านมีความรักต่อท่านอย่างแท้จริง ต่างพากันพายเรือออกไป ตามหาอยู่หลายวัน แต่หาไม่พบ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ปลาในน้ำทำอันตรายต่อท่านชวีหยวน ชาวบ้านจึงพากันโยนบ๊ะจ่างลงในน้ำให้ปลากินแทน ต่อมาทุกๆ ปี ในวันที่ 5 เดือน 5 ผู้ คนจะพายเรือออกไปโยนบ๊ะจ่างลงในน้ำเป็นประจำ แต่ประเพณีได้กลายมาเป็นการรับประทานบ๊ะจ่าง และเพิ่มเติมประเพณีการแข่งเรือมังกรเข้ามาด้วย

เรือ มังกรคือเรือที่ประดับโขนเรือเป็นหัวมังกรซึ่งถูกนำมาพายแข่งขันกันใน บรรยากาศ ที่สนุกสนาน มิใช่แต่ชาวจีนเท่านั้นที่ชอบการแข่งเรือมังกร นานาประเทศทั่วโลกต่างก็ชื่นชม ในประเทศจีนมีการแข่งขันเรือมังกรระดับนานาชาติหลายเมือง เช่นที่หูหนาน และฮ่องกง เป็นต้น










เทศกาลฉงหยาง



วันที่ 9เดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติของจีนเป็นเทศกาลเก่าแก่ของจีนคือเทศกาลฉงหยาง เมื่อถึงวันนั้น  ชาวจีนมีประเพณีไต่เขาชมดอกเก๊กฮวย ปักต้นจูหยูและกินขนมฮวาเกา



เนื่องจากชาวจีนสมัยโบราณเชื่อกันว่า ตัวเลข 9 เป็นเลขหยาง วันที่ 9 เดือน 9 มี 9 สองตัวหรือหยางเป็นคู่ จึงเป็นวัน”ฉงหยาง”  เกี่ยว กับที่มาของเทศกาลฉงหยาง มีนิทานเล่ากันว่า เมื่อศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์กาล มีเซียนที่มีอิทธิฤทธิ์มากองค์หนึ่งชื่อเฟ่ยฉางฝาง เขาไม่เพียงแต่สามารถเรียกลมเรียกฝนได้เท่านั้น หากยังสามารถขับไล่ภูตผีปีศาจได้ด้วย มีหนุ่มคนหนึ่งชื่อหวนจิ่งเป็นลูกศิษย์ของเฟ่ยฉางฝาง วันหนึ่ง เฟ่ยฉางฝางกล่าวกับหวนจิ่งว่า“ในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 นี้ ทางบ้านเธอจะประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง เธอต้องเตรียมตัวไว้”หวนจิ่งได้ยินดังนั้นก็ตกใจมาก รีบคุกเข่าขอให้อาจารย์บอกวิธีหลบภัย เฟ่ยฉางฝางกล่าวว่า“วัน ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 เธอเตรียมถุงผ้าสีแดงไว้หลายๆใบ ข้างในใส่ใบจูหยู แล้วมัดไว้ที่ต้นแขน และอย่าลืมพกเหล้าที่แช่ดอกเก๊กฮวยด้วย พาสมาชิกทั้งครอบครัวไปดื่มเหล้าเก๊กฮวยบนเขาสักแห่งหนึ่ง  ครอบครัวของเธอก็จะรอดพ้นภัยร้ายแรงครั้งนี้ได้”จาก นั้น หวนจิ่งก็ปฏิบัติตามทุกอย่างที่อาจารย์สอนให้ พอถึงเช้าตรู่วันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 หวนจิ่งพาครอบครัวขึ้นไปอยู่บนเนินเขาแห่งหนึ่ พวกเขาดื่มเหล้ากันจนค่ำุจึงกลับบ้าน พอก้าวเข้าบ้านปรากฏว่า สัตว์เลี้ยงที่บ้านทั้งเป็ดไก่หมูหมาล้วนตายหมด ครอบครัวของหวนจิ่งรอดตายจริงๆ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเพณีการไต่เขา ปักต้นจูหยูและดื่มเหล้าเก๊กฮวยในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 จึงแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้



หวังเหวย กวีสมัยราชวงศ์ถัง เขียนกลอนเกี่ยวกับเทศกาลฉงหยางไว้บทหนึ่งชื่อว่า“วันที่ 9 เดือน 9 คิดถึงญาติพี่น้องทางบ้าน”ดังนี้

            เป็นแขกแปลกหน้าอยู่ต่างถิ่นแต่ผู้เดียว        

ย่อมคิดถึงญาติพี่น้องเป็นสองเท่ายามเทศกาลมงคล

ทราบจากทางไกลว่าญาติพี่น้องยืนบนยอดสูง       

เวลาปักต้นจูหยูปรากฏว่าขาดฉันไปหนึ่งคน



ขณะ แต่งกลอนบทนี้ หวังเหวยมีอายุเพียง 10 กว่าปี เขาพำนักอยู่ในกรุงปักกิ่งเพียงคนเดียว จึงอดคิดถึงบ้านไม่ได้ โดยเฉพาะยามเทศกาลมาถึง  เห็น ครอบครัวอื่นๆอยู่พร้อมหน้ากัน ยิ่งทำให้คิดถึงญาติพี่น้องทางบ้าน ยามเทศกาลฉงหยางมาถึง ทุกคนจะติดใบจูหยูไว้กับตัว แต่ครอบครัวของตนกลับขาดเขาไปคนหนึ่ง

ประเพณีอีกอย่างหนึ่งในเทศกาลฉงหยางคือ กินขนมฉงหยางเกา เนื่องจากคำว่า”เกา” ที่ แปลว่าขนม พ้องเสียงกับอีกคำหนึ่งที่แปลว่า สูง จึงมีความหมายแฝงว่า ได้ดิบได้ดีและไต่สูงขึ้นเรื่อยๆ ขนมนึ่งชนิดหนึ่งที่ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวและพุทราและปักธง 5 สีใบเล็กๆ เรียกว่า  “ฮวาเกา”  ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามเขตที่ราบที่ไม่มีภูเขาจะให้ไต่ในเทศกาลฉงหยาง ก็จะกินขนมฮวาเกาแทนการไต่เขา



ชาว จีนในสมัยโบราณเชื่อว่า เทศกาลฉงหยางเป็นเทศกาลแห่งอายุยืนยาว การปฏิบัติตามประเพณีต่างๆในเทศกาลฉงหยางสามารถทำให้มีอายุมั่นขวัญยืน


ทุก วันนี้ ชาวจีนยังคงมีประเพณีไต่เขาและชมดอกเก๊กฮวย ร้านค้าต่างๆจะขายขนมฮวาเกาในวันฉงหยาง ปีหลังๆมานี้ จีนยังได้กำหนดวันที่ 9 เดือน 9 นี้เป็นเทศกาลเคารพคนชรา เนื่องจากการออกเสียงของคำว่า 9 นั้น พ้องกับอีกคำหนึ่งซึ่งแปลว่า ยืนยาว ซึ่งมีความหมายแฝงว่า อายุยืนยาว ทำให้เทศกาลฉงหยางนอกจากมีความหมายดั้งเดิมแล้ว ยังเพิ่มความหมายใหม่ที่ว่า เคารพคนชราและขอให้คนชรามีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืนยาว










เทศกาลตวนอู่



วัน ที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติของจีนเป็นเทศกาลตวนอู่ของจีน เทศกาลตวนอู่ เทศกาลตรุษจีนและเทศกาลจงชิวหรือเทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลใหญ่สาม เทศกาลของจีน



สาเหตุที่ตั้งชื่อเทศกาลนี้ว่า“ตวนอู่”ก็เพราะว่า คำว่า“ตวน”ในภาษาจีนหมายถึงต้นหรือเริ่มต้น  วันที่ 5 เดือน 5 อยู่ในต้นเดือน 5   ส่วนตัวเลข 5 นั้นออกเสียงว่า“อู่ ” วันที่ 5 เดือน 5จึงเรียกว่า“ตวนอู่”



เกี่ยวกับความเป็นมาของเทศกาลตวนอู่ มีเรื่้องเล่าหลายอย่าง บางคนเห็นว่าเทศกาลตวนอู่สืบเนื่องจากประเพณี“เสี้ยจื้อ”หรือ ประเพณีฉลองการย่างเข้าฤดูร้่อนในสมัยโบราณ บางคนเห็นว่าเทศกาลนี้สืบเนื่องจากความเชื่อของประชาชนสมัยโบราณที่อาศัย อยู่ริมแม่น้ำแยงซีซึ่งบูชามังกรเป็นโทเทน แต่ตำนานเกี่ยวกับความเป็นมาของเทศกาลตวนอู่ที่แพร่หลายมากที่สุดคือ ตำนานที่เล่ากันว่าเทศกาลตวนอู่เป็นเทศกาลเพื่อรำลึกชวูหยวน นักกวีผู้รักชาติในสมัยโบราณของจีน



ชวู หยวนเป็นชาวก๊กฉู่ในยุคศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล หลังจากปิตุภูมิถูกก๊กอื่นยึดครองไปแล้ว ชวูหยวนกระโดดแม่น้ำมี่หลัวเจียงฆ่าตัวตายด้วยความแค้นเคือง  วันนั้นตรงกับวันที่ 5 เดือน 5    ต่อ มา พอถึงวันที่ 5 เดือน 5 ของทุกปี ประชาชนจะใช้ปล้องไผ่ใส่ข้าวสวยไว้ข้างใน โยนลงไปในแม่น้ำให้ปลากิน พร้อมภาวนาขอให้ปลาอย่ากินศพของชวูหยวน ต่อมา ปล้องไผ่ที่ใส่ข้าวสวยก็ค่อยๆพัฒนามาเป็นขนมบ๊ะจ่าง



การ กินขนมบ๊ะจ่างเป็นประเพณีสำคัญที่สุดในเทศกาลตวนอู่ วิธีทำขนมบ๊ะจ่างคือ ใช้ใบอ้อหรือใบไผ่ห่อข้าวเหนียว แล้วใช้ด้ายมัดให้แน่นเป็นรูปกรวยหรือรูปหมอน เสร็จแล้วนำไปต้มหรือนึ่งให้สุก ก่อนเทศกาลตวนอู่จะมาถึง  ทุกบ้านต้องทำขนมบ๊ะจ่าง พอถึงวันเทศกาล จะหิ้วขนมบ๊ะจ่างที่ทำเองไปเยี่ยมญาติมิตร

อาหาร ที่นิยมกินกันในเทศกาลตวนอู่นอกจากขนมปะจ่างแล้ว ยังมีไข่เค็ม เหล้าสุงหวง ซึ่งแต่ละอย่างล้วนมาจากความเชื่อเกี่ยวกับการสะเดาะเคราะห์ทั้งนั้น



นอก จากอาหารการกินแล้ว เมื่อถึงเทศกาลตวนอู่ ทุกบ้านต้องแขวนสมุนไพรสองชนิดไว้บนหน้าประตูบ้าน ด้านหนึ่งเพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคล อีกด้านหนึ่งก็เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ เนื่องจากในช่วงเวลาที่เพิ่งย่างเข้าฤดูร้อนนั้น มีฝนชุก อากาศชื้น เชื้อโรคจึงเกิดขึ้นง่าย การแขวนสมุนไพรสองชนิดนี้ไว้ที่หน้าประตูสามารถป้องกันโรคได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีประเพณีการใช้ด้ายห้าสีพันข้อมือของเด็ก เชื่อกันว่าเด็กจะได้มีอายุยืนยาวร้อยปี และจะเย็บกระเป๋าใบเล็กๆเป็นรูปเสือบ้าง รูปลูกน้ำเต้าบาง ข้างในใส่เครื่องหอม แขวนไว้ที่หน้าอกของเด็ก นอกจากนี้ ยังจะให้เด็กสวมรองเท้ารูปหัวเสือ และใส่ผ้าเอี๊ยมที่ปักรูปเสือ เพราะเชื่อว่าการทำเช่นนี้สามารถปกป้องเด็กให้พ้นจากโชคร้ายและความอัปมงคล



ใน พื้นที่ตอนกลางและตอนปลายของลุ่มแม่น้ำแยงซี การแข่งเรือมังกรเป็นประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในเทศกาลตวนอู่ เล่ากันว่า ประเพณีแข่งเรือมังกรก็เกี่ยวข้องกับชวูหยวนเช่นกัน  คือ เมื่อประชาชนทราบว่าชวูหยวนกระโดดแม่น้ำแล้ว ก็พากันพายเรือไปช่วยชีวิตเขาอย่างสุดความสามารถ ต่อมา ก็ค่อยๆกลายเป็นประเพณีการแข่งเรือมังกรในเทศกาลตวนอู่ การแข่งเรือมังกรมักจัดอย่างใหญ่โตมโหฬาร บางครั้งมีเรือเข้าร่วมถึง 50-60 ลำ เรือแต่ละลำจะประดับด้วยหัวมังกรในรูปทรงต่่างๆที่มีสีสันสดใส บนเรือตีฆ้องตีกลองดังสนั่นลั่นฟ้า เีสียงโห่ร้องไชโยดังขึ้นระลอกแล้วระลอกเล่า เรือแต่ละลำไล่กวดกันบนผิวน้ำ บนฝั่งมีธงหลากสีสะบัดพริ้วไปตามสายลม มีผู้มาชมการแข่งขันเต็มสองฝั่ง บรรยากาศครึกโครมอย่างยิ่ง





ที่มา:
http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0001-1.html








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น