วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประวัติของประเทศจีน






Zhonghua Renmin Gongheguo คือ ชื่อเป็นทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน คนทั่วไปมักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า "จงกั๋ว" ซึ่งแปลว่า "อาณาจักรกลาง"
ที่ตั้ง จีนตั้งอยู่บนทวีปเอเชียตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศต่างๆ โดยรอบ 15 ประเทศ คือ เกาหลีเหนือ รัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน เคอร์กิชสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล สิกขิม ภูฐาน พม่า ลาว และเวียดนาม ขณะที่ทิศตะวันออกและทิศใต้จดทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้
พื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองจากประเทศ รัสเซีย และแคนาดา พรมแดนทางบกของจีนมีความยาว 28,000 กิโลเมตร และมีชายฝั่งทะเลยาว 18,000 กิโลเมตร เกาะที่ใหญ่ที่สุด ในบรรดาเกาะน้อยใหญ่ทั้งหมด 6,536 เกาะ คือเกาะไต้หวันและไห่หนาน เมืองหลวงคือ ปักกิ่ง
เมืองหลวง กรุงปักกิ่งหรือเป่ยจิง (ภาษาราชการจีนเรียกว่า “เป่ยจิง” - Beijing ) มีประชากร ประมาณ 30 ล้านคน

แผนที่



ประชากร ประมาณ 1,300 ล้านคน มีประชากรมาก เป็นอันดับหนึ่งของโลก 93% เป็นชาวฮั่น ส่วนที่เหลือ 7% เป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่ ชนเผ่าจ้วง หุย อุยกูร์ หยี ทิเบต แม้ว แมนจู มองโกล ไตหรือไท เกาซัน รัฐบาลจีนมีนโยบายเพื่อควบคุมจำนวนประชากรชาวฮั่น ซึ่งครอบครัวหนึ่ง ควรมีบุตรเพียงหนึ่งคนเท่านั้น นโยบายนี้ไม่ได้บังคับใช้ในชนกลุ่มน้อย

ธงชาติ            
ธงชาติจีนเป็นรูปดาวสีเหลือง 5 ดวงบนพื้นสีแดง ดาวดวงใหญ่หมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นผู้นำ ดาวเล็กทั้ง 4 ดวง หมายถึง ชนชั้น ที่ประกอบขึ้นเป็นสังคมจีน คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นชาวนา ชนชั้นนายทุนน้อย และชนชั้นนายทุนแห่งชาติ ซึ่งมีความหมายถึงเอกภาพของประชาชนจีนทุกชนชั้นภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน


ภาษา แมนดารินเป็นภาษาราชการ และมีภาษาท้องถิ่นอีกจำนวนมาก เช่น ภาษากวางตุ้ง แต้จิ๋ว เซี่ยงไฮ้ แคะ ฮกเกี้ยน เสฉวน หูหนาน ไหหลำ เป็นต้น ส่วนใหญ่ใช้อักษรจีนแบบย่อ (Simplified Chinese) มีอักษรทั้งหมด 56,000 ตัว ใช้ประจำ 6,763 ตัว ถ้ารู้เพียง 3,000 ตัว ก็อ่านหนังสือพิมพ์และทั่วไปได้
ประวัติศาสตร์ กว่า 4,000 - 5,000 ปี ช่วง 3,500 ปี เป็นยุคประวัติศาสตร์ราชวงศ์แรกสุดคือ ราชวงศ์เซี่ย ราชวงศ์สำคัญของจีน เช่น ฉิน ฮั่นถัง ซ่ง จีนปกครองแบบสาธารณรัฐเมื่อ ค.ศ. 1911 และเป็นคอมมิวนิสต์เมื่อ ค.ศ. 1949
ภูมิอากาศ พื้นที่ภาคเหนือมี 4 ฤดู แห้งและหนาวเย็นในหน้าหนาว ร้อนอบอ้าวในหน้าร้อน ตอนใต้มีอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งอากาศจะแตกต่างกันตามภูมิประเทศ
ภูมิประเทศ ส่วนที่ใหญ่ที่สุดของจีนอยู่ในเขตอบอุ่น ซึ่งมีฤดูกาลที่แตกต่างกันไป ทางตะวันตกส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา ทะเลทราย และที่ราบสูง และค่อยๆ ลาดลงทางทิศตะวันออก
 ธงชาติ รูปดาวสีเหลือง 5 ดวงบนพื้นสีแดง (ดาวดวงใหญ่หมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นผู้นำ ดาวเล็กๆ ทั้งสี่ดวงหมายถึง “ชนชั้น” ที่ประกอบขึ้นเป็นสังคมจีน คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นชาวนา ชนชั้นนายทุนน้อย และชนชั้นนายทุนแห่งชาติ)
เขตการปกครอง การปกครองส่วนกลางแบ่งออกเป็น 23 มณฑล (รวมถึงไต้หวัน) , 5 เขตปกครองตนเอง (มองโกเลีย หนิงเซี่ย ซินเจียง กวางสี และทิเบต) , 4 มหานครที่ขึ้นต่อส่วนกลาง (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน และฉงชิ่ง และ 2 เขตบริหารพิเศษ (ฮ่องกง และมาเก๊า)

ศาสนาและความเชื่อ

ในสมัยโบราณ จีนนับเป็นดินแดนที่มีศาสนาและปรัชญารุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่มากมาย โดยลัทธิความเชื่อเดิม นั้นมีอยู่สองอย่างคือ ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ ซึ่งเน้นหลักจริยธรรมมากกว่าที่ จะเป็น หลักศาสนาที่แท้จริง ส่วนพุทธศาสนานั้น จีนเพิ่งรับมาจากอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษแรกนี้เท่านั้น ครั้นมาถึงยุคคอมมิวนิสต์ ศาสนากลับถูกว่าเป็นปฎิปักษ์ต่อลัทธิทางการเมืองโดยตรง แต่ในช่วงหลังๆ นี้ทางการก็ได้ยอมผ่อนปรนให้ กับการนับถือศาสนาและความเชื่อต่างๆ ของประชาชนมากขึ้นอีกครั้ง ลักธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ( ในเขตตะวันตกของจีน ) และศาสนาคริสต์จึงได้กลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ชาวจีน ยังเชื่อถือในเรื่องตัวเลขนำโชคหมอดู และการพยากรณ์กันมาตั้งแต่ครั้งโบร่ำโบราณ เฟินสุ่ยและตัวเลขนำโชค
       แนวคิดเรื่องพรหมลิขิตของจีนเริ่มมีขึ้นในยุคสังคมศักดินาที่ผู้คนเชื่อกันว่า " เทพเจ้า " ( จักรพรรดิ ) สามารถตัดสินชะตาของคนได้ แต่เมื่อเกิดกบฏโค่นล้มราชวงค์ลงได้สำเร็จ ความเชื่อที่ว่าจักรพรรดิ เป็นผู้ไร้เทียมทานก็พลอยดับสูญไปด้วย ประชาชนได้หันมาบูชาม้าและวัว จนนำไปสู่การสังเกตุเห็นว่า เป็นรูปร่าง ขน และสีผิวที่ต่างกันย่อมส่งผลให้สัตว์แต่ละประเภทมีความสามารถ อารมณ์ อายุที่ยืนยาวแตกต่างกันไป สุดท้ายจึงหันมาสังเกตุดูลักษณะของคนด้วยกันเองบ้าง
เฟิงสุ่ย ( ฮวงจุ้ย/น้ำและลม ) เป็นศาสตร์แห่งการพยากรณ์ที่มีมาแต่โบราณ ใช้ดึงดูดโชคลาภและปัดเป่า เคราะห์ร้ายนานา ผู้เชื่อถือศาสตร์นี้จะไปขอคำแนะนำจากอาจารย์ดูเฟินสุ่ยทุกเรื่อง ทั้งการออกแบบ หาฤกษ์ยาม การตกแต่งบ้านหรือสำนักงาน เป็นต้น
       อาจารย์ดูเฟินสุ่ยส่วนใหญ่จะเชื่ยวชาญการดูโหงวเฮ้ง ดูลายมือ ดูดวงจากวันเดือนปีเกิด และเวลาตกฟากด้วย นักปรัชญจีนในสมัยราชวงค์ฮั่น ได้คิดค้นระบบ 12 นักษัตร อันประกอบด้วย ปีชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุนขึ้น โดยแบ่งคนออกเป็น 12 กลุ่มตามปีเกิด และนำเอาหลักปรัชญากับตัวเลขมาคิดคำนวณเพื่อพยากรณ์โชคเคราะห์ และอนาคตของบุคคล เช่น เลขสองหมายถึงความสบาย เลขสามคือชีวิตหรือการให้กำเนิดบุตร เลขหกคือการมีอายุยืน เลขแปดคือความมั่งคั่งร่ำรวย เลขเก้าคือความเป็นนิรันดร์ เมื่อนำตัวเลขมารวมกันก็จะได้ความหมายที่แตกต่างกันออกไป เช่น 163 หมายถึง "การมีอายุยืนยาว" หรือ "การมีลูกดก" เป็นต้น

วัฒนธรรมจีน

ตรุษจีน คือ วันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน

      
       สมัยโบราณในยุคราชวงศ์ต่างๆ นับช่วงพ้นปีเก่าเข้าปีใหม่แตกต่างกันไป กระทั่งปี 105 B.C. ฮั่นอู่ตี้ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นปรับเปลี่ยนระบบปฏิทินใหม่ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เรียกว่า ปฏิทินไท่ชูลี่
      
       ปฏิทินไท่ชูลี่ ปรับปรุงขึ้นจากระบบปฏิทินของราชวงศ์เซี่ย (21-16 ศตวรรษ B.C.) ถือเอาวันแรกของปักษ์ลี่ชุน 立春 เป็นวันขึ้นปีใหม่  ชาวจีนจึงนับเอาวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่มา 2010 ปีแล้ว
      
       วันตรุษจีนหรือปีใหม่นี้ จีนโบราณเรียกว่า 过年 กั้วเหนียน ผ่านปีหรือ 元旦หยวนตั้น – ขึ้นปีใหม่
      
       เทศกาลตรุษปีใหม่หรือตรุษวสันต์นี้ เดิมเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ นักวิชาการเริ่มวิเคราะห์จากคำว่า “เหนียน” 年ซึ่งปัจจุบันแปลว่า ปี
      
       เทศกาลตรุษจีน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “กั้วเหนียน” 过年
      
       ในสมัยโบราณ (ก่อนราชวงศ์โจว) เหนียน หมายถึง รอบการเจริญเติบโตของธัญพืชรอบหนึ่ง ธัญพืชสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว และ/หรือหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของการเพาะปลูก ดังนั้น คำว่า “กั้วเหนียน” เดิมทีมิได้หมายถึงการสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ แต่หมายความว่า ในปีนั้นๆ เก็บเกี่ยวได้อุดมสมบูรณ์
      
       โดยทั่วไปแล้ว การเพาะปลูกในตงง้วนจะเก็บเกี่ยวกันตอนปลายฤดูใบไม้ร่วง ส่วนฤดูหนาวคือช่วงระยะล่าสัตว์ เมื่อเราย้อนกลับไปดูการกำหนดเดือนอ้ายขึ้นปีใหม่ในปฏิทินโบราณทั้ง 4 ระบบ จะเห็นว่าก๊กเซี่ย ขึ้นปีใหม่ตอนปลายเดือนมกราคม ก๊กซางขึ้นปีใหม่ตอนปลายเดือนธันวาคม ก๊กโจวขึ้นปีใหม่ตอนปลายเดือนพฤศจิกายน ก๊กฉินขึ้นปีใหม่ตอนปลายเดือนตุลาคม ที่ต่างกันดังนี้ อาจเนื่องมากจากความแตกต่างของฤดูกาล


เทศกาลโคมไฟ (หยวนเซียวเจี๋ย)

วันเทศกาลนี้ตามปฏิทินจันทรคติคือ วันที่ 15 หลังจากวันตรุษจีน วันนี้เป็นวันประเพณีที่ชาวจีนเล่นโคมไฟ จึงเรียกว่าเทศกาลโคมไฟ

วันเทศกาลโคมไฟไม่เป็นวันหยุดราชการ แต่ประชาชนก็ให้ความสนใจที่จะฉลอง เทศกาลนี้ โดยเฉพาะในชนบทจะอึกทึกเป็นพิเศษ ประชาชนนอกจากจะได้ดูการแสดง และการละเล่นหลายชนิดแล้วยังมีรายการฉองโคมไฟอีกมากมาย ที่ผู้คนดูกันมากที่สุดเห็นจะได้แก่ขบวนพาเหรดที่ที่มีการแต่งตัวด้วยอาภรณ์แบบโบราณ ขณะเดินเคลื่อนที่ไปก็จะมีการแสดงประกอบตามไปด้วย ประเพณีนี้ซึ่งมีการฉลองทุกภาค ตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคใต้ ต่างมีการแสดงที่สำคัญคือการเชิดมังกร และสิงโต

ในการฉลองเทศกาลนี้จะเป็นเทศกาลที่ญาติพี่น้องซึ่งอยู่***งกันได้กลับมาพบกัน ชาวภาคใต้มีประเพณีนำ หยวนเซียว ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกกลมสีขาวมีไส้ ต้มในน้ำขิง ( เหมือนบัวลอยน้ำขิง) ของกินนี้ออกเสียงเรียกกันว่า ถวนหยวน ซึ่งแปลว่า คืนสู่เหย้า ถือว่าเป็นโอกาสแห่งความเป็นสิริมงคล
ที่มา:
http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0001-1.html
http://www.wlc2china.com/about_china.html
http://www.sjholidays.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5351423

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น